วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศีลอด

ศีลอด (ภาษาอาหรับ: صيام /ศิยาม/) หมายถึง การงดการกิน การดื่ม การเสพ และการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน นอกจากนี้ยังเรียกว่า "ถือบวช" มุสลิมที่พูดภาษามาลายูปัตตานีในภาคใต้ของไทยเรียกการถือศีลอดว่า ปอซอ (จากภาษามาลายู puasa)

การถือศิลอดเป็นศาสนกิจที่ประเสริฐที่สุดอีกประการหนึ่ง เป็นศาสนกิจที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้เป็นศาสนบัญญัติทุกช่วงยุคสมัยหรือทุกๆประชาชาติในอดีต อัลลอฮฺตรัสว่า
{2:183} ดูกร บรรดาผู้มีศรัทธา! การถือศีลอด นั้นได้ถูกกําหนดแก่พวกเธอแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกําหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเธอ เพื่อว่าพวกเธอจะได้ยำเกรง
{2:184} ในเหล่าวันที่ถูกกำหนดไว้ แล้วผู้ใดในพวกเธอป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือชดใช้ในวันอื่นแทน และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่มีความลําบากยากไม่อาจที่จะถือศีลอดนั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหารแก่คนขัดสนคนหนึ่ง แต่ผู้ใดกระทำความดีโดยสมัครใจ มันก็เป็นความดีแก่เขา และการที่พวกเธอจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าแก่พวกเธอ หากพวกเธอรู้
{2:185} เดือนรอมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นการชี้นำสำหรับมนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับการชี้นำนั้น และเกี่ยวกับมาตรการจําแนกข้อเท็จจริง ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเธอเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือชดใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเธอ และไม่ทรงให้มีความลําบากแก่พวกเธอ และเพื่อที่พวกเธอจะได้ทำให้ครบตามกำหนด และเพื่อพวกเธอจะสรรเสริญความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงชี้นำพวกเธอ และเพื่อพวกเธอจะขอบพระคุณ
{2:186} และเมื่อบ่าวของฉันถามเธอถึงฉัน อันที่จริงฉันนี้อยู่ใกล้ ฉันจะตอบรับคําวิงวอนของผู้ที่วิงวอน ถ้าเขาวิงวอนต่อฉัน ดังนั้นพวกเขาจงตอบรับฉันและจงมีศรัทธาต่อฉัน เพื่อว่าพวกเขาจะได้รับการชี้นำ
{2:187} ได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเธอแล้วซึ่งการสมสู่กับบรรดาภรรยาของพวกเธอในค่ำคืนของการถือศีลอด นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่งห่มของพวกเธอ และพวกเธอก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง อัลลอฮฺทรงรู้ว่า พวกเธอนั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง แล้วพระองค์ก็ทรงยกโทษให้แก่พวกเธอ และอภัยให้แก่พวกเธอแล้ว บัดนี้พวกเธอจงสมสู่กับพวกนางได้ และแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงกําหนดให้แก่พวกเธอเถิด และจงกินและดื่ม จนกระทั่งด้ายเส้นขาวจะประจักษ์แก่พวกเธอจากด้ายเส้นดํา เนื่องจากแสงรุ่งสาง แล้วพวกเธอจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ และพวกเธอจงอย่าสมสู่กับพวกนาง ขณะที่พวกเธอพักสงบอยู่ในมัสญิด นั่นคือบรรดาขอบเขตของอัลลอฮฺ ดังนั้นพวกเธอจงอย่าล้ำขอบเขตนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮฺจะทรงแจกแจงบรรดาสัญญาณของพระองค์แก่ปวงมนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรง

ประเภทของศีลอด

การถือศีลอดมี 4 ประเภทเช่น
1. ศีลอดบังคับ ที่ชายหญิงมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะต้องปฏิบัติในเดือนรอมะฎอนทุกปี ในระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน
2. ศีลอดอาสา ที่ชายหญิงมุสลิมถือศีลอดในวันอื่น ๆ นอกเดือนรอมะฎอน
3. ศีลอดที่บนบานไว้ เช่น บนบานว่า ถ้าหายป่วยจะถือศีลอดสามวัน
4. ศีลอดเพื่อเป็นการไถ่โทษ (กัฟฟาเราะหฺ) เนื่องจากความผิดบางประการ การถือศีลอดเพื่อลบล้างความผิด ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีดังนี้
4.1 เมื่อมุสลิมได้ฆ่ามุสลิมอีกคนหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้ปล่อยทาสเป็นอิสระ 1 คน แต่ถ้าไม่สามารถจะไถ่ความผิดโดยการปล่อยทาสได้ ก็ให้ถือศีลอดแทนเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน {อัลกุรอาน 2:92}
4.2 ถือศีลอดลบล้างการหย่าแบบซิฮาร เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน
4.3 ถือศีลอดลบล้างความผิดที่สาบานที่จะไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ถูกต้องและชอบธรรม โดยถือศีลอดเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ในกรณีที่ผู้นั้นไม่สามารถปล่อยทาสให้เป็นอิสระหรือเลี้ยงคนยากจนถึง 10 คนได้ {อัลกุรอาน 5:89}
4.4 ถือศีลอดลบล้างความผิดตามคำพิพากษาของผู้เที่ยงธรรม 2 คน เมื่อผู้นั้นล่าสัตว์ ขณะที่กำลังอยู่ในระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ ในเงื่อนไขที่ว่าผู้นั้นไม่สามารถให้อาหารแก่คนยากคนจนได้ {อัลกุรอาน 5:89}
5. ศีลอดเพื่อชดเชยข้อบกพร่องในพิธีกรรมฮัจญ์ เช่น ให้ถือศีลอดชดเชย 3 วัน หากผู้ทำฮัจญ์ไม่สามารถบริจาคทานหรือพลีกรรมสัตว์ได้ตามกำหนดการ

มุสลิมที่ต้องถือศีลอดเดือนรอมะฎอน

1. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ
2. มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม
3. ไม่เมาหรือหมดสติ
4. ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย
5. ไม่มีระดูหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร
6. ผู้ที่ไม่ได้เดินทางไกล

บุคคลที่ได้การผ่อนผันจากการถือศีลอดในเดือนรอมะฏอน

บุคคลที่ได้การผ่อนผันจากการถือศีลอดในเดือนรอมะฏอน แต่ต้องจ่ายค่าปรับโดยการให้ทานเป็นอาหารแก่คนยากจน เช่นข้าวสาร หรือข้าวสาลี ประมาณ 3 กิโลกรัม เมื่อใดที่มีความสามารถ ก็จะต้อถือศีลอดชดใช้ เท่าจำนวนวันเวลาที่ขาดไป
1. ชายชราและหญิงชราที่ไม่สามารถถือศีลอด เพราะเหน็ดเหนื่อยหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
2. บุคคลที่เป็นโรคกระหายน้ำอย่างรุนแรง หากไม่ดื่มน้ำ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3. หญิงตั้งครรภ์ ที่การถือศีลอดอาจมีผลกระทบหรือเป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์หรือต่อตัวเอง
4. แม่ลูกอ่อนที่มีน้ำนมน้อย ที่การถือศีลอดอาจมีผลกระทบหรือเป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์หรือต่อตัวเอง

บุคคลที่ไม่อนุมัติให้ถือศีลอดในเดือนรอมะฏอนหรือศีลอดอื่น ๆ

1. สตรีที่มีระดู
2. สตรีที่มีเลือดหลังการคลอดบุตร
ทั้งสองจะต้องชดเชยการถือศีลอดเดือนรอมะฏอน ในวันอื่นแทน เท่าจำนวนวันที่ขาดไป โดยไม่ต้องจ่ายค่าปรับโดยการให้ทานเป็นอาหารแก่คนยากจน

การเริ่มถือศีลอด

มุสลิมเริ่มถือศีลอดก่อนเวลานมาซศุบฮิอย่างน้อย 10 นาที เรียกเวลานั้นว่า "อิมสาก" ที่ต้องหยุดรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม และชำระร่างกายให้พ้นจากมลทินของญุนุบ

"การแก้ศีลอด" หรือการ"แก้บวช"

การแก้ศีลอดคือการหยุดถือศีลอด มุสลิมแก้ศีลอดหลังจากดวงอาทิตย์ตกดิน ด้วยการดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหาร

สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเสีย

ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที และจะต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังจากเดือนรอมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมี 10 ประการดังต่อไปนี้
1. ตั้งใจกิน ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
2. ตั้งใจดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
3. ร่วมประเวณี
4. ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ
5. การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด
6. การตั้งใจอาเจียน
7. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง
นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเสียอีกหลายข้อ ที่มัซฮับต่าง ๆ มีทัศนะที่แตกต่างกัน เช่น
8. ตั้งใจดำน้ำโดยให้ศีรษะทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ
9. ตั้งใจคงสภาพการมีญุนุบ (หมายถึงภายหลังจากได้ร่วมหลับนอนกับภรรยา หรือหลังจากที่อสุจิได้เคลื่อนออกมาแล้วยังไม่ได้อาบน้ำตามศาสนบัญญัติ) หรือแม้แต่จะไม่ตั้งใจคงสภาพดังกล่าว แต่เป็นเพราะหลงลืมถือว่าศีลอดเสียและต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลัง

โทษทัณฑ์ของผู้ที่ทำให้ศีลอดเดือนรอมะฏอนของตนเสียโดยเจตนา

ตามทัศนะอะหฺลุซซุนนะหฺ ผู้ใดที่ทำให้การถือศีลอดเสียด้วยการร่วมประเวณีในขณะถือศีลอด นอกจากจะต้องชดใช้วันที่เสียไปแล้ว ยังจะต้องชดใช้ปรับโทษดังนี้
1. ปล่อยทาสเป็นเชลย 1 คน
2. ถ้าไม่มี ให้ถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าขาดแม้เพียงวันเดียวต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่
3. ถ้าทำไม่ได้ เนื่องจากเจ็บป่วย หรือเหน็ดเหนื่อยเพราะมีอายุมาก ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 คน อาหารที่จะให้ต้องมีคุณภาพเท่าที่ตนใช้บริโภคประจำวัน 

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลต่าง ๆ

1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช

          - หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ

          - ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา" เลขบัญชี  301-0-86149-4

2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

          - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา" เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

4. กรมอุตุนิยมวิทยา

          - เว็บไซต์ tmd.go.th

          - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          - เว็บไซต์ disaster.go.th

          - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

          - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่ 

6. กรุงเทพมหานคร

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

7. สภากาชาดไทย

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "สภากาชาด
ไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงาน
การคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมาย
เลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

          - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ  หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

          รายการชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสบภัย (สภากาชาดไทย) 1 ชุด ประกอบด้วย

          1.  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  จำนวน  30 ซอง

          2.  ปลากระป๋อง  จำนวน  6  กระป๋อง

          3.  ผักกาดดอง  จำนวน  6  กระป๋อง

          4.  ปลาราดพริก  จำนวน  6  กระป๋อง

          5.  ข้าวหอมมะลิกระป๋อง 150 กรัม  จำนวน  6 กระป๋อง

          6.  น้ำพริก  จำนวน  2  กระปุก

          7.  ไก่ทอดกระเทียม  จำนวน  2  กระป๋อง

          8.  เครื่องดื่มช็อคโกแลตผง 3 in 1 (1X6 ซอง)  จำนวน  2  ถุง

          9.  ข้าวสาร (5 กิโลกรัม)  จำนวน  1  ถุง

          10.  โลชั่นกันยุง  จำนวน  1  ขวด

          11.  เทียนไข (1X2 เล่ม)  จำนวน  1  กล่อง

          12.  ไฟแช็ค  จำนวน  1  อัน

          13.  กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน  จำนวน  1  ชุด

          14.  ยาสามัญประจำบ้าน  จำนวน  1  ชุด

          15.  ยาแก้น้ำกัดเท้า  จำนวน  1  หลอด

          16.  เกลือไอโอดีน  จำนวน  1  ถุง

          17.  ถุงขยะสีดำ ขนาดเล็ก  จำนวน  1  แพ็ค (6 ใบ)

          18.  ถุงขยะสีดำ ขนาดใหญ่  จำนวน  1  แพ็ค (6 ใบ)

8. กองบัญชาการ กองทัพไทย

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ (อาคาร 6) ตลอดเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-575-1500

9. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาซีคอนสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป เพื่อโครงการช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 095-2-71929-7 

10. สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 + ครอบครัวข่าวช่อง 3

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์สี่ ช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 และสามารถช่วยบรรจุหีบห่อได้ที่หน้าอาคารได้เลย แผนที่คลิกที่นี่
          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" เลขที่บัญชี 014-3-00368-9

11. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ หน้าสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5 สนามเป้า  แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 021-2-69426-9
 
12. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารปฏิบัติการ ชั้น 1 ตึกอสมท. ถ.พระราม9 เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก ชื่อบัญชี "อสมท ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 015-0-12345-0 สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-0700-4

13. กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 NBT

          - สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ จะเป็นสื่อกลางรายงานสภาพอากาศ สถานการณ์อุทกภัย และเป็นจุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ชื่อรายการ "ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" โดยยกเลิกผังรายการเดิมทั้งหมด 

          - สำหรับการรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-275-2053 แผนที่คลิกที่นี่


14. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย 

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7, 02-791-1113 หรือ people@thaipbs.or.th สามารถไปบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้ง, ข้าวของเครื่องใช้ ได้ที่ ตึกชินวัตร3  แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เพื่อนพึ่งภาช่วยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 020-2-69333-2

 
15. จส. 100

          - สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24

16. มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" บัญชีเลขที่บัญชี 111-3-90911-5 บริจาคผ่าน ATM / สาขา SCB ไม่เสียค่าโอน

17. ธนาคารออมสิน

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน บัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี "ออมสินรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 0-2888888888-1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว

18. โรงแรมดุสิตธานี

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม ได้ที่โรงแรมดุสิตธานี ในวันพุธที่ 20 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 09.00-23.00 น.

19. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

          - รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-465-6165

20. การรถไฟแห่งประเทศไทย

          - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690

21. ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 

          - ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1669

22. บริษัทขนส่ง

          - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

23. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7 ซ.พหลโยธิน 18/1

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสำนักเพลินจิต ชื่อบัญชี "7 สีช่วยชาวบ้าน" เลขที่บัญชี 001-9-13247-1 
 

24. มูลนิธิซีเมนต์ไทย

          - สามารถบริจาคอาหาร ผ้าอนามัย กางเกงในกระดาษ กระดาษทิชชู ถุงขยะ เทียนไข และไฟแช็ค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-586-3415

25. จุดรับบริจาคของคนเสื้อแดงกลุ่ม Red Cyber

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าแฟชั่นมอลล์ (จอดรถข้างหน้าได้เลย) และบิ๊กซีลาดพร้าว ชั้น 5 ที่สถานีเอเชียอัพเดท
26. DTAC

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ DTAC อาคารจามจุรีแสควร์ ถึงวันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2553

27. มูลนิธิกระจกเงา

          - สามารถไปบริจาคข้าว สาร, อาหารแห้ง, น้ำดื่ม และยารักษาโรค ช่วยเหลือพี่-น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา (สนง.กรุงเทพ)  8/12 ซ.วิภาวดี44  ถ.วิภาวดีรังสิต  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานานาเหนือ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" เลขที่บัญชี    000-0-01369-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  087-274-9769 (เอ), 02-941-4194-5 ต่อ 102 (เอ,สุกี้)
28. กรมทางหลวง

          - สายด่วนกรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1586 สอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          - สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6530, 02-354 -6668-76 ต่อ 2014 ,2031

          - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6551

          - ตำรวจทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1193

29 . องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

          - สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1490 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในบริจาคสิ่งของ

รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          เมื่อย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย

          อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้



          1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย

          2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้

          ในประเทศไทย เคยเกิดเหตุน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ และภาคอีสาน ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเอง ก็เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน




ย้อนรอยน้ำท่วม


          จ.ลพบุรี ที่ราบสูงตอนกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำสายสำคัญ อย่างแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ปัญหาน้ำท่วมจึงมีให้เห็นเป็นประจำอยู่ทุกปี แม้จะมี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คอยกักเก็บและควบคุมปริมาณน้ำอยู่ก็ตาม ในปี 2553 นี่ก็เช่นกัน จ.ลพบุรี ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ต้องปิดโรงเรียน และระดมหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายครัวเรือน

          จ.ลำปาง หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ อ.แจ้ห่ม ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำแม่สอย และแม่น้ำวัง ไหลผ่านมาบรรจบกัน อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ จ.ลำปาง ยังเป็นพื้นดินต่ำ มีภูเขาล้อมรอบ จนถูกเรียกว่า อ่างลำปาง โดยล่าสุดน้ำป่าไหลหลากและน้ำจากแม่น้ำก็ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนใน อ.แจ้ห่ม และบริเวณรอบ ได้รับความเสียหาย มีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร มีผู้ประสบภัยนับ 1,000 หลังคาเรือน

          จ.เชียงราย คือจังหวัดใหญ่ทางภาคเหนือ ที่แม้จะอยู่เหนือสุดของประเทศไทย แต่ก็ยังต้องประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนักในปีนี้ เนื่องจากฝนที่ตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากทะลักล้นเข้าสู่บ้านเรือน ใน 5 อำเภอ ที่ได้รับความเดือดร้อนหนัก คือ อ.ดอยหลวง, อ.พญาเม็งราย, อ.แม่จัน , อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เวียงเชียงรุ้ง อีกทั้งล่าสุดอ่างเก็บน้ำห้วยพลู ก็ยังแตกออกจนเป็นเหตุให้น้ำทะลักและดินทรุดตัวลง รวมถึงถนนขาดออกจากกันอีกด้วย

          กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ก็เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2538 น้ำท่วมขังอยู่นานราว 2 เดือน คนเมืองหลวงต่างต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำท่วมขัง ถือเป็นภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้สาเหตุมาจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่ำและกำลังทรุดตัวลงอยู่เรื่อย ๆ ประกอบกับน้ำทะเลที่ค่อย ๆ หนุนสูงขึ้นทุกปี

          นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางจังหวัดของประเทศไทย ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก และยังคงมีอีกหลายจังหวัดที่ยังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่ประชาชนจะต้องรับรู้ไว้ เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีรับมือน้ำท่วม    

          1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

          2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

          3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

          4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

          5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

          6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

          7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

          8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

          9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

          10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

          11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

          12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

ตามน้ำสถานการณ์น้ำท่วมในสถานที่ต่างๆ ช่วงเช้าวันนี



 
 
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วงเช้า(8พ.ย.) ที่นี่!!!
 
        ระดับน้ำที่ถนนวิภาวดีรังสิต หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ น้ำสูงกว่า 70 เซนติเมตร ส่วนถนนพหลโยธิน น้ำจ่อเข้าสะพานควาย ย่านบางกะปิ น้ำเริ่มซึมเข้าบางจุด ขณะที่ บขส. ยังเปิดให้บริการปกติ ด้าน "วุฒิชาติ" ยืนยันยังไม่หยุดวิ่ง หากน้ำไม่ท่วมสูงถึง 50 ซม. ...
 
        เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 8 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมว่า ที่ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระดับน้ำที่ท่วมขังเมื่อวานนี้ อยู่ที่ประมาณ 60 เซนติเมตร ล่าสุดระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเช้าวันนี้น้ำสูงกว่า 70 เซนติเมตรแล้ว ขณะที่น้ำไหลไปจนถึงที่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ และน้ำยังไม่สามารถข้ามคลองบางซื่อไปได้ ขณะที่เครื่องสูบน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ยังทำงานอย่างหนักต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อสูบน้ำระบายน้ำออกไป โดยน้ำยังไม่ได้ข้ามไปยังแยกสุทธิสารแต่อย่างใด
 
        ส่วนที่ถนนพหลโยธิน น้ำได้ไหลบ่าไปจ่ออยู่ที่แยกสะพานควาย ส่วนย่านบางกะปิ น้ำเริ่มซึมเข้าบางจุดแล้ว ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับระดับน้ำวันนี้ ในทุกจุดเพิ่มสูงขึ้น อย่างที่แยกลาดพร้าว หรือถนนวิภาวดีรังสิต แสดงให้เห็นว่าน้ำยังทะลักเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในอย่างต่อเนื่อง
 
        ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ยืนยันว่า บขส.ยังคงให้บริการรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิตเช่นเดิม แม้มีปัญหาน้ำท่วมพื้นที่โดยรอบบ้าง ซึ่งรถยนต์ขนาดเล็กยังสามารถเข้าออกสถานีขนส่งหมอชิตได้ โดยแนะนำให้ใช้เส้นทางด่วน และยังมีรถโดยสารสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้บริการรับส่งผู้โดยสารถึงสถานีขนส่งหมอชิต เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ
 
        อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำท่วมถนนกำแพงเพชร 2 ซึ่งอยู่หน้าสถานีขนส่งหมอชิตสูงถึง 50 ซม. บขส.จะต้องหยุดให้บริการส่วนปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการ พบว่ามีปริมาณลดลงจากเดิมที่ค่อนข้างสูง อาจเป็นเพราะผู้โดยสารได้ทยอยเดินทางไปต่างจังหวัดตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้การใช้บริการลดลง ทั้งนี้โดยปกติในช่วงต้นเดือน พ.ย.ของทุกปี มีปริมาณผู้โดยสารไม่มากนัก และจะเริ่มมีปริมาณผู้โดยสารสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปีและต้นปี