วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

พิศวงกลางทะเล (ลูกเรือแมรี่เซเลสเต้หายสาบสูญอย่างพิศวง)


เรือแมรี่เซเลสเต้(The Mary Celeste) เป็นเรือสัญชาติอเมริกาขนาด 103 ฟุต 282 ตัน เดิมเป็นเรืออเมซอนซึ่งถูกสร้างในปี 1861 และในปี 1869 ก็ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อเป็นแมรี่เซเลสเต้
วันที่ 7 พฤศจิกายน 1872 เรือแมรี่เซเลสเต้ออกเดินทางจากนิวยอร์คมุ่งไปยังเจนัว ประเทศอิตาลี ภายในเรือบรรทุกเอทิลแอลกอฮอล 1,701 บาร์เรล บังคับการเดินเรือโดยกัปตันเบนจามิน บริกก์ส และลูกเรือ 7 คน มีผู้โดยสาร 2 คนคือภรรยาและบุตรสาววัย 2 ปีของกัปตันบริกก์ส
วันที่ 4 ธันวาคม ปีเดียวกัน เรือ Dei Gratia พบแมรี่เซเลสเต้ลอยลำอยู่ในอ่าวโปรตุเกส หลังจากทำการสังเกตุการณ์เป็นเวลา 2 ชั่วโมงแล้วก็ลงความเห็นว่าอาจจมีเหตุฉุกเฉินบนเรือแมรี่เซเลสเต้ แม้ว่าจะไม่ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ กัปตันเรือ Dei Gratia ได้ส่งเรือเล็กพร้อมลูกเรือจำนวนหนึ่งไปยังแมรี่เซเลสเต้ แต่เมื่อไปถึง กลับไม่มีใครอยู่บนเรือเลย คนทั้ง 10 คนหายสาบสูญไปราวกับละลายไปในอากาศ
ตามรายงานกล่าวว่า เรือเปียกทั้งลำ แต่ยังอยู่ในสภาพที่เดินเรือได้ นาฬิกาไม่ทำงานและเข็มทิศถูกทำลาย หากสิ่งที่แปลกประหลาดที่สุดคือ ทุกอย่างบนเรืออยู่ในสภาพที่ราวกับว่าเพิ่งมีคนอยู่ที่นั่นจนเมื่อครู่ และพวกเขาพากันจากไปอย่างเร่งร้อน ขนมปังและจานซุปยังวางอยู่บนโต๊ะ (บางข่าวบอกว่าซุปยังร้อนอยู่ด้วยซ้ำ) ไปป์ถูกวางไว้รอจุดไฟ รองเท้าบู้ธถูกวางทิ้งทั้งๆที่ยังขัดค้างไว้อยู่
มีรอยเลือดเหลืออยู่บนราวรั้วของเรือ และมีการพบดาบเปื้อนเลือดใต้เตียงนอนของกัปตัน บันทึกเดินเรือถูกฉีกขาดไปหลายหน้า แต่ก็ไม่มีร่องรอยอย่างอื่นว่าคนทั้ง 10 หายไปไหนและก็ไม่มีใครได้เห็นพวกเขาอีกเลยจริงๆ
มีการสันนิษฐานไปต่างๆนานาเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นบนแมรี่เซเลสเต้ บ้างก็ว่าเพราะเจอสัตว์ประหลาดปลาหมึกยักษ์ บ้างก็ว่าเพราะไอระเหยของเอธิลแอลกอฮอลทำให้พวกเขาเห็นภาพลวงตา บ้างก็ว่าเพราะอาหารที่เก็บไว้นานจนเกิดสารพิษ

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

St. Patrick’s Day

เมื่อกล่าวถึงวันเซนต์แพทริกแล้ว คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับสีเขียวและ ใบไม้สามแฉกที่แสดงถึงความโชคดี แต่สำหรับชาวไอริชแล้ว ไม่มีเทศกาลใดจะสำคัญไปกว่าเทศกาลเซนต์แพทริก (St. Patrick’s Festival) ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองกันในวันที่ 17 มีนาคม อันเป็นวันสิ้นชีพของนักบุญแพทริก นักบุญผู้ปกป้องคุ้มครองไอร์แลนด์ โดยประเทศไอร์แลนด์จัดให้เป็นวันหยุดทางศาสนา เช่นเดียวกับบรรดาโบสถ์ในนิกายโรมันคาทอลิกที่กำหนดให้เป็นวันเฉลิมฉลองนัก บุญ ซึ่งใกล้เคียงกับวันเริ่มต้นถือศีลอดของชาวคริสต์พอดี

 Patrick1

เซนต์แพ ตทริก คือ นักบุญผู้ปกป้องคุ้มครองไอร์แลนด์ ถ้าเรียกตามสำเนียงไอริชก็ต้องบอกว่า วันชาติของเขาคือ “แพดดีส์ เดย์” (Paddy’s Day) จะสังเกตได้ว่าเกือบทุกแห่งในโลกมีไอริชผับจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวไอริชก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่กระจัดกระจาย อพยพไปยังส่วนต่างๆ ของโลก นอกจากพวกเขาจะเฉลิมฉลองกันในสาธารณรัฐไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือแล้ว ยังมีการฉลองกันในหมู่ชาวไอริชพลัดถิ่นที่แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์รวมถึงประเทศทางแถบเอเชีย แม้กระทั่งที่ประเทศไทยเราก็จัดให้มีการร่วมขบวนเฉลิมฉลองเทศกาลนี้เป็นปี แรก ณ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ในวันที่ 17 มีนาคม 2554 เช่นกัน

Patrick2


พาเหรด ฉลองเซนต์แพตทริกมีขึ้นครั้งแรกในปี 1761 ถัดมาอีกปีก็จัดอย่างยิ่งใหญ่ที่กรุงนิวยอร์ก โดยทหารเชื้อสายไอริชที่มาประจำการในกองทัพของอังกฤษเป็นผู้นำพาเหรด พร้อมร้อง เล่น เต้นรำกับเพลงไอริชอย่างสนุกสนาน ณ ปัจจุบัน ขบวนพาเหรดฉลองวันสำคัญของชาติไอร์แลนด์ในนิวยอร์กยังนับว่ายิ่งใหญ่ที่สุด นอกไอร์แลนด์ โดยจะมีคนไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนร่วมขบวนในแต่ละปี แท้จริงแล้วขบวนพาเหรดนั้นไม่ได้เริ่มต้นที่ไอร์แลนด์แต่อย่างใด แต่จัดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา อันมีชุมชนชาวไอริชอยู่มาก โดยสมาคมการกุศลไอริช จัดที่เมืองบอสตัน ในปี ค.ศ.1737 แล้วต่อมาที่นิวยอร์ก จนตอนหลังก็กลับไปยังบ้านเกิดด้วยการที่เมืองต่างๆ ในไอร์แลนด์ จากที่ฉลอง แค่ทางศาสนา ก็ขยับมาจัดเป็นงานฉลองที่ไม่ว่าจะเป็นชาวคริสต์หรือไม่ก็เข้าร่วมงานได้ สนุกถ้วนหน้า การเฉลิมฉลองเซนต์แพตทริกเป็นประเพณีที่ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิและการใช้ชีวิต ท่ามกลางแดดอุ่น ๆ หลังจากที่หลบอยู่ในบ้านด้วยอากาศที่หนาวเย็นมานาน


Patrick3


ธงชาติไอริชและธงประดับสัญลักษณ์ประเทศ อย่าง ใบแชมร็อก ต่างโบกสะบัดที่เมืองมอนทรีอัล ในควิเบก เป็นการฉลองที่ยาวนานหลายวันติดต่อกัน พอๆ กับที่ดับลิน คอร์ก เบลฟาสต์ แดร์รี กัลเวย์ คิลเคนนี ลิเมอริก และวอเทอร์ฟอร์ด ในสาธารณรัฐไอร์แลนด์

จริงๆ แล้ว เครื่องแต่งกายของเซนต์แพตทริกเป็นสีน้ำเงิน ทว่า สีเขียวที่สวมใส่ในงานฉลองนั้นมาจากสีประจำชาติและเป็นหนึ่งในสีธงชาติ ไอร์แลนด์ เนื่องจากใบแชมร็อกมีสีเขียวจึงเชื่อว่าการสวมใส่เสื้อผ้าสีเขียวก็เหมือน กับมีแชมร็อกอยู่บนร่างกาย

แช มร็อก (Shamrock) หรือชาวเคลต์ (ชาวท้องถิ่นดั้งเดิมของไอร์แลนด์) เรียกว่า ซีมรอย (Seamroy) เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณบนผืนแผ่นดินไอร์แลนด์ นับเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ และฤดูใบไม้ผลิ โดยในศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ใบแชมร็อกถือเป็นเครื่องหมายแสดงความรักชาติของชาวไอริช เนื่องจากโดนอังกฤษเข้ามายึดครอง แถมยังห้ามพูดภาษาไอริช ทั้งห้ามนับถือศาสนานิกายคาทอลิก หลายๆ

คนจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีเขียวเพื่อแสดงพลังแห่งชนชาติ และกลายเป็นสีที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในวันเซนต์แพตทริก


Patrick4


ดนตรีอันมีเอกลักษณ์ของชาวไอริชก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าเสื้อผ้าสีเขียว ด้วยว่าเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไอริชเลย ด้วยเหตุนี้เนื้อหาในบทเพลงไอริชจึงมักเล่าเรื่องวัฒนธรรม ศาสนา ตำนาน ประวัติศาสตร์และชีวิต เพื่อการสืบทอดสู่ลูกหลาน โดยเฉพาะหลังจากถูกอังกฤษยึดครองและห้ามพูดภาษาท้องถิ่น พวกนักดนตรีทั้งหลายจึงอาศัยบทเพลงเป็นเครื่องมือในการสืบทอดภาษาเคลต์ของตน เองเพื่อไม่ให้สูญหาย ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทุกวันนี้มีนักร้องนักดนตรีชาวไอริช ที่ร้องเพลงภาษาท้องถิ่นจนโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น เดอะ ชิฟต์เทนส์ เดอะ แคลนซี บราเธอร์ส ซีเนด โอคอนนอร์ หรือแม้แต่รุ่นใหม่ๆ อย่าง เดอะ คอร์ส ก็ต้องมีเพลงภาษาไอริชแทรกเอาไว้ในอัลบั้มเพลงป๊อปของพวกเขา

ชาว ไอริชจะฉลองให้ครบสูตรกันตั้งแต่เช้า เริ่มกันตั้งแต่ไอริช เบรกฟาสต์ หรืออาหารเช้าของเขาที่ประกอบด้วย ขนมปังแบบโฮมเมด สตู และมันฝรั่ง โดยส่วนใหญ่จะดื่มชาคู่กัน แต่ถ้าอากาศยังหนาวมากๆ ก็อาจปิดท้ายมื้อเช้าด้วยไอริชวิสกี้


 Patrick5

เมนูสำคัญของวันเซนต์แพตทริกจะ ต้องมีคอร์นบีฟและอาหารที่ทำจากกะหล่ำ ซึ่งนับเป็นเมนูพื้นบ้านดั้งเดิมสุดๆ โดยเมนูหลากหลายจากกะหล่ำนั้นเป็นสิ่งที่ชาวไอริชกินกันทุกวันอยู่แล้ว แต่คอร์นบีฟเป็นสิ่งพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อการฉลองวันสำคัญของชาติโดย เฉพาะ เหตุที่ไม่ใช่เมนูหรูหราอะไร ก็เนื่องมาจากเมนูดังกล่าวเกิดขึ้นมาจาก “ยุคประหยัด” พวกเขานำเนื้อส่วนที่มีราคาถูก อย่างคอร์นบีฟมาใช้แทนที่ไอริชเบคอนซึ่งราคาสูงเพื่อจะประหยัดเงิน (เป็นวิธีคิดที่เริ่มต้นในกลุ่มชาวไอริชอพยพที่กรุงนิวยอร์กตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 17 โดยเป็นการเลียนแบบแนวทางประหยัดทรัพย์มาจากเพื่อนบ้านชาวยิว) และปิดท้ายด้วยเบียร์ดำ ไอริชวิสกี้ หรือไอริชครีม ลิคเคอร์


Patrick6