วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"กุหลาบแห่งแวร์ซาย"

ประวัติของ มารี อองตัวเนต "กุหลาบแห่งแวร์ซาย"
 
ตุลาคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) ปิดฉากชีวิตในแวร์ซายส์ของ มารีอองตัวเนต (Marie Antoinette) ราชินีแห่งฝรั่งเศสที่ฝูงชนแสนเกลียดชัง

           มาเรีย แอนโทเนีย โจเซปปา โจฮันน่า (Maria Antonia Josepha Johanna)ประสูติเมื่อ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 (พ.ศ. 2298) ณ กรุงเวียนนา (Vienna) เป็นธิดาองค์ที่ 15 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1(Emperor Francis I) แห่งโรมัน ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (แห่งราชสำนักลอเรนน์) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซา (Empress Maria Theresa)แห่งออสเตรีย มารี อองตัวเนตดำรงพระยศเป็น กษัตริย์ แห่งฮังการี และราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชสำนักฮับสบูร์ก) 

 
ภาพ  at the Palace of the Hofburg, Maria Antonia Josepha Johanna von Hapsburg-Lothringen, fifteenth child of the Holy Roman Emperor Francis I Stephen
ที่มา images.quickblogcast.com

 
           อาร์คดัชเชสมารี อองตัวเนต เติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์ก (Hofburg Palace)ในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ พระนางใช้ชีวิตเจ้าหญิงแห่งฮังการีแบบอิสระ ถูกเลี้ยงดูมาแบบง่ายๆ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ไม่เข้มงวดดังเช่นราชนิกูลในราชสำนักฝรั่งเศส ในด้านการศึกษานั้น พระนางอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้บ้าง พูดภาษาฝรั่งเศสได้เพียงน้อยนิด แต่ยิ่งถ้าเป็นภาษาอิตาเลียนแล้วแทบจะไม่ได้เอาเสียเลย ส่วนทางด้านศิลปะ พระนางได้หัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด กับคีตกวีชื่อดัง คริสตอฟ วิลบัลด์ กลุค และเรียนนาฏศิลป์ฝรั่งเศสกับโนแวร์

 

ภาพ Hofburg palace
ที่มา travelpod.com

 
           เมื่อเจริญพระชนพรรษาขึ้น เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1769 (พ.ศ. 2312) มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต ก็ได้มาสู่ขอพระนางเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นหลานชายคนโตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15  แต่ทว่าการหมั้นในครั้งนั้นถูกต่อต้านจากกลุ่มคนจากฝ่ายฝรั่งเศส ถึงกับเรียกมารี อองตัวเนตว่า "ผู้หญิงออสเตรีย" 

 

ภาพ Marie Antoinette at the spinet
ที่มา filipspagnoli.files.wordpress.com

 
           ภายหลังที่พระนางประกาศสละสิทธิ์ในการเป็นอาร์คดัชเชสของราชสำนักออสเตรีย ก็ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส (พระเจ้าหลุยส์ที่ 16) ที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1770 (พ.ศ. 2313)ท่ามกลางบรรยากาศที่อึมครึมไปด้วยกระแสต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" ผู้นี้
           ด้วยพระชันษาเพียง 16 ปี  วุฒิภาวะในความเป็นสาววัยรุ่นของพระนาง ที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอภิเษกเพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างฝรั่งเศส-ออสเตรีย การที่จะต้องปรับตัวจากการที่ถูกเข้มงวดในพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศส การไม่ได้รับการยอมรับจากพสกนิกรและชนชั้นสูงในราชสำนัก รวมทั้งไม่ได้รับการเหลียวแลจากมกุฎราชกุมารเท่าใดนัก (กว่าทั้งคู่จะเริ่มมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ก็ล่วงเข้าปี พ.ศ. 2316) และต้องยอมรับว่าแรงกดดันเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ ชีวิตซึ่งมีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้พระนางเดินมาในเส้นทางที่กลายเป็นโศกนาตก รรมในเวลาต่อมา

 

ภาพ Marie Antoinette
ที่มา 1.bp.blogspot.com

 
           ในแวร์ซายส์พระนางใช้ชีวิต สะดวกสบาย หรูหรา แสนสิ้นเปลือง จัดงานเลี้ยงที่ฟุ้งเฟ้อบ่อยครั้ง ตั้งวงพนันกับราชนิกุลด้วยเงินเดิมพันจำนวนมหาศาล สร้างความอิจฉาริษยาให้แก่นางสนมและราชนิกูลพระองค์อื่นๆอย่างมาก 

 

ภาพ Marie Antoinette, Queen of France
ที่มา johnfenzel.typepad.com

 
           แต่กับความเดียวดาย พระนางต้องพึ่งพาที่ปรึกษาเพียงจากจดหมายตอบโต้กับพระมารดา และท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำกรุงปารีส ซึ่งจดหมายเหล่านี้เองที่กลายเป็นข้อมูลสำคัญที่จะอธิบายช่วงชีวิตของมารี อองตัวเนตภายหลังการก้าวเข้ามาสู่ราชสำนักฝรั่งเศส 
           ภายหลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1774 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองราชย์ และพระนางมารี อองตัวเนต ได้ทรงขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส (Queen of France and Navarre )พระนางยังคงใช้ชีวิตในแวร์ซายที่แวดล้อมไปด้วยพระสหายสนิทที่เป็นผู้ทรงศักดินาจำนวนหนึ่ง อย่างฟุ้งเฟ้อกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์เช่นเคย นอกจากนี้ ยังกล่าวกันว่าพระนางพยายามมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือพระมหากษัตริย์ เห็นได้จากการที่แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีหลายคนตามพระทัย หรือไม่ก็จากคำแนะนำของพระสหายสนิท จึงไม่แปลกที่กระแสต่อต้านพระนางจะเริ่มก่อตัวขึ้น

           กลุ่มคนที่ต่อต้านพระนาง ได้ใช้วิธีโจมด้วยการแจกใบปลิวกล่าวหาว่า พระนางมีชายชู้ หรือแม้กระทั่งมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรีด้วยกัน ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ว่าพระนางจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับกลุ่มที่ต่อต้าน แต่ทว่าก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

           ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1778 (พ.ศ. 2321) พระนางได้มีประสูติกาลพระธิดาองค์แรก มีพระนามว่า มารี-เทเรสแห่งฝรั่งเศส
และต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2324) ก็ได้ให้กำเนิดเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ มกุฎราชกุมารและได้ได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่สองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) มีพระนามว่าเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล ดำรงตำแหน่งดยุคแห่นอร์มงดี แต่ทว่าการมีประสูติกาลเหล่านี้ กลับนำปัญหามาให้พระนางตามมาด้วยถูกกล่าวหาว่า โอรสธิดานั้นไม่ได้มีเชื้อสายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถึงขนาดว่ามีเสียงร่ำลือว่าจะมีการพิสูจน์สายเลือดของโอรสธิดา

 

ภาพ Queen Marie-Antoinette and Her Children
ที่มา 
www.mentalfloss.com 

 
           พระนางยังมีเรื่องราวให้ผู้ที่ต่อต้านกล่าวถึงมากมาย ไม่ว่าจะการถูกกล่าวหาว่า พัวพันกับคดีกีเนส เรื่องอื้อฉาวในคดีสร้อยพระศอที่แม้ว่าพระนางจะไม่มีความผิดแต่ก็เสียพระเกียรติเป็นอันมาก การใช้จ่ายจำนวนมากในยามที่บ้านเมืองแร้นเเค้น ทั้งการใช้เงินจำนวนมากปรับปรุงพระตำหนักของพระนาง รวมทั้งเสียงประชดที่พระนางหลบไปใช้ชีวิตเลียนแบบธรรมชาติอย่างไร้เดียงสาที่พระตำหนักเปอติ ทรีอานง ที่สร้างเป็นหมู่บ้านชนบท มีฟาร์มขนาดเล็กในพระราชวังแวร์ซายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สร้างขึ้นเพื่อมอบให้กับพระนาง

 

ภาพ Louis XVI and Marie Antoinette with their Children at Versailles
October 6, 1789 by Gyula Benczur
ที่มา 
www.franceattraction.com 

 
           การต่อต้านทวีความรุนแรงขึ้น มีการแจกจ่ายหนังสือต่อต่านระบอบกษัตริย์  ตั้งราคาพระเศียรของมารี อองตัวเนต อีกทั้งกล่าวว่าพระนางต้องการลอบวางระเบิดรัฐสภาและต้องการส่งทหารเข้ามาในกรุงปารีส ประชาชนที่อดยากและไม่พอใจในการใช้จ่ายเงินทองที่ฟุ่มเฟือยในราสำนัก ประชาชนที่อดอยากจึงลุกฮือบุกเข้าไปในพระราชวัง และตามตามประกบระหว่างทางที่บรรดาเชื้อพระวงศ์เดินทางหนีภัยกลับกรุงปารีส พร้อมกับขู่พระนางมารี อองตัวเนต ว่า จะใช้เสาโคมในกรุงปารีสแขวนคอพระนาง

 

ภาพ Qu’ils mangent de la brioche (Let them eat cake)! Marie-Antoinette, Queen of France, when told that the poor had no bread
ที่มา filipspagnoli.files.wordpress.com

 
           ต่อมากลุ่มก่อการปฏิวัติบุกเข้าสู่ปารีส และสามารถจับกษัตริย์กับราชินีที่ได้หลบหนีไปได้ที่เมืองวาเรนน์-ออง-อาร์กอนน์ และได้นำตัวทั้งสองพระองค์กลับไปยังกรุงปารีส ในที่สุดพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ต้องยอมรับระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าทั้งสองพระองค์จะพยายามขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ต่างประเทศอย่างลับ ๆ ก็ไม่เป็นผล

           แต่ความวุ่นวายยังไม่สงบลงง่ายๆ ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐอีกครั้ง ความวุ่นวายเลวร้ายถึงขนาดมีการสังหารหมู่เชื้อพระวงศ์ ประชาชนกล่าวโทษว่าพระนางมารี อองตัวเนตเป็นผู้ทำให้เมืองหลวงนองไปด้วยเลือด และเรียกพระนางว่า "นางปิศาจ" หรือไม่ก็ "มาดามผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมาย"
           และในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16

           และในเวลาต่อมา พระนางมารี อองตัวเนตก็ได้ถูกตั้งข้อหาโดยศาลปฏิวัติว่าขายชาติกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติพระนางถูกไต่สวนและถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาเป็นทรราชขั้นร้ายแรงและถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยติน(guillotine)  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336)โดยปฏิเสธจะสารภาพบาปกับบาทหลวงที่คณะปฏิวัติจัดหาให้ ศพของพระนางถูกฝังในหลุมฝังศพลา มาเดอเลน บนถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร และถูกย้ายไปฝังไว้ที่วิหารซังต์ เดอนีส์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคมค.ศ. 1815 (พ.ศ. 2358) 

 

ภาพ Marie Antoinette's execution on 16 October 1793
ที่มา upload.wikimedia.org

 
ละแล้ว“กุหลาบแห่งแวร์ซาย” ดอกนี้ก็ถึงคราวต้องร่วงโรย

"ดิกชันนารี ฉบับ แม็คฟาร์แลนด์"

"ดิกชันนารี ฉบับ แม็คฟาร์แลนด์" ความพยายามของคนในอดีต 100 ปีก่อน
 
"ดิกชันนารี อังกฤษ-ไทย" ของตระกูลแม็คฟาร์แลนด์ ซึ่งได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อร้อยกว่าปีก่อนนั้น ถือได้ว่า เป็นความพยายามของคนในอดีต และปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในสยามทีเดียว เพราะก่อนหน้านั้น "ดิกชันนารี" หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า "พจนานุกรม" เพิ่งจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงไม่กี่เล่มนัก




ดิกชันนารี อังกฤษ-ไทย เล่มนี้, จัดทำขึ้นครั้งแรกโดยการริเริ่มของศาสนาจารย์ เอส.จี.แม็คฟาร์แลนด์ (Samuel Gamble McFarland) มิชชันนารีในคณะเพรสไบทีเรียนผู้เพิ่งเดินทางมาถึงสยามในปี พ.ศ.2403 โดยเมื่อแรกมาถึงท่านได้พำนักอยู่ที่สำนักงานกลาง คณะเพรสไบทีเรียนที่สำเหร่

ต่อมาเมื่อมีข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงโปรดฯให้สร้างพระราชวังบนภูเขาที่จังหวัดเพชรบุรี พวกมิชชันนารีจึงได้เดินทางไปสำรวจ และขออนุญาตต่อทางราชการเพื่อตั้งสำนักงานเผยแพร่ประกาศเกียรติคุณของพระผู้เป็นเจ้าขึ้นที่เพชรบุรี

เมื่อได้รับการอนุญาตจากทางการแล้ว ครอบครัวของศาสนาจารย์แดนเนียล แม็คกิลวารี และครอบครัวของศาสนาจารย์เอส.จี. แม็คฟาร์แลนด์ จึงเดินทางไปตั้งถิ่นฐานและสอนศาสนาอยู่ที่เพชรบุรี

แต่หลังจากพำนักอยู่ที่นั่นได้ 6 ปี ศาสนาจารย์แดนเนียล แม็คกิลวารี ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่ ส่วนศาสนาจารย์แม็คฟาร์แลนด์ยังคงอยู่เพชรบุรีสืบต่อมาเป็นเวลาถึง 17 ปี

ในระหว่างที่อยู่ที่เพชรบุรี ศาสนาจารย์แม็คฟาร์แลนด์และภรรยายังได้ตั้งโรงเรียนขึ้น เพื่อสอนกุลบุตร-กุลธิดาชาวเพชรบุรี เมื่อมีเวลาว่างท่านก็จะได้ฝึกฝนการพิมพ์ที่ได้เรียนมา(ซึ่งผู้ที่สอนการพิมพ์ให้ท่านนั้น น่าจะได้แก่หมอบรัดเลย์ และภายหลังก็ได้รับแท่นพิมพ์จากหมอบรัดเลย์มาชุดหนึ่งด้วย) จนมีความชำนาญในการพิมพ์และการป้อนกระดาษไม่แพ้ช่างมืออาชีพ แม้แต่ลูกๆ ของท่านก็ยังได้รับการฝึกหัดให้เรียงพิมพ์และป้อนกระดาษเป็น


ครั้นถึงปี พ.ศ.2419 ศาสนาจารย์แม็คฟาร์แลนด์ก็จัดพิมพ์หนังสือ "บทเพลงนมัสการภาษาไทย" ขึ้นสำเร็จ และมีความแตกต่างกว่าที่เคยพิมพ์ขึ้นในประเทศสยาม คือ หนังสือบทเพลงนมัสการที่พิมพ์ใหม่นี้ จะมีโน้ตเพลงพิมพ์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2428 หนังสือบทเพลงฉบับนี้ก็ถูกจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ 2

นอกจากนี้, ศาสนาจารย์แม็คฟาร์แลนด์ยังได้ใช้เวลาในการศึกษาภาษาไทย จนสามารถจัดทำพจนานุกรมขึ้นเองได้สำเร็จในปี พ.ศ.2408 จำนวน 400 เล่ม โดย English and Siamese Vocabulary ฉบับพิมพ์ครั้งแรกได้บรรจุคำเอาไว้จำนวน 7,500 คำ โดยท่านได้จัดพิมพ์ขึ้นเองที่โรงพิมพ์ของท่านที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งน่าจะเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกๆ ในจังหวัดนี้


ต่อมาเมื่อศาสนาจารย์เอส.จี. แม็คฟาร์แลนด์ ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้มาเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ "โรงเรียนสวนอนันต์" ณ สวนนันทอุทยานฝั่งธนบุรี ที่ทางรัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2421 
ครั้นถึงปี พ.ศ.2423 ท่านจึงได้จัดพิมพ์ดิกชันนารีของท่านขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ณ โรงพิมพ์ภายในโรงเรียนสวนอนันต์ และในปี 2433 จึงได้จัดพิมพ์อีกเป็นครั้งที่ 3 จำนวน 600 เล่ม หลังจากนั้น, ศาสนาจารย์เอส.จี. แม็คฟาร์แลนด์ จึงได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ.2440


ซึ่งหลังจากดิกชันนารีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ขาดตลาดไปแล้ว พระอาจวิทยาคม(ยอร์ช แม็คฟาร์แลนด์) ผู้บุตรของศาสนาจารย์เอส.จี. แม็คฟาร์แลนด์ จึงได้จัดพิมพ์ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 4 จำนวน 2,000 เล่ม โดยในการพิมพ์ครั้งนี้, พระอาจวิทยาคมได้แก้ไขปรับปรุง-เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ขึ้น

เวลาต่อมา พระอาจวิทยาคมก็ได้ส่งต้นฉบับดิกชันนารีไปทำบล็อคที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขนาดของดิกชันนารีที่พิมพ์เป็นครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ.2453 มีขนาดเล็กลง


แต่ปรากฏว่าอีก 5 ปีต่อมาได้เกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ทำลายบล็อคเสียหายหมด ดังนั้น ในการพิมพ์ครั้งต่อๆ มา จึงต้องแกะบล็อคขึ้นใหม่ในเมืองไทย จนกระทั่งในการพิมพ์ครั้งที่ 10(อันเป็นครั้งสุดท้าย) จึงได้มีการขยายขนาดของรูปเล่มและตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยทำมาก่อนหน้านี้

นับจากนั้น, พระอาจวิทยาคมก็มิได้พิมพ์ดิกชันนารีของบิดาอีก แต่ได้คิดทำพจนานุกรมของตนเองขึ้นมาบ้าง

จากฉบับทดลองในปี พ.ศ.2480 ที่มีเพียง 144 หน้าแจกไปยังนักเรียนผู้สนใจทดลองใช้ดูก่อน แล้วแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายประการ จนกระทั่งสำเร็จเป็นรูปเล่มสมบูรณ์ จำนวนกว่า 1,000 หน้า(บรรจุคำเอาไว้ 167,546 คำ) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2484 



Credit :  นสพ.มติชน และ http://www.artsmen.net

มารู้จักจังหวัดที่ 77 ของประเทศของประเทศไทยกัน


“บึงกาฬ” ขึ้นแท่นจังหวัดที่ 77 ของไทย

Share
บึงกาฬ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งน้ำตก ภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การคมนาคมที่แสนสะดวกสบาย นับได้ว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่เมืองหนึ่งเลยก็ว่าได้

แต่เดิมนั้น อำเภอบึงกาฬ มีชื่อว่า ไชยบุรี ซึ่งขึ้นกับจังหวัดนครพนม มาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482
ปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง “อำเภอบึงกาฬ” ขึ้นเป็น “จังหวัดบึงกาฬ” ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
การจัดตั้ง “จังหวัดบึงกาฬ” เป็นโครงการที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาในขณะนั้น และได้มีการนำสู่กระบวนการพิจารณาอีกครั้ง โดยผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยในวันที่  22  มีนาคม  2554 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่  พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.  2554
สภาได้มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้ง “จังหวัดบึงกาฬ” ไปเรียบร้อยแล้ว พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป  หรือวันที่ 23 มีนาคม 2554  นั่นเอง 
การร้องขอจัดตั้งถูกขอตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย
จังหวัดบึงกาฬ ที่เสนอให้จัดตั้งมีพื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. จากการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคาย ปรากฏว่าประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 98.83 หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ จะมีประชากรประมาณ 390,000 คน ประกอบด้วย 8 อำเภอ มีอักษรย่อ บก.
ปัจจุบันบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกถ้ำฝุ่น, น้ำตกชะแนน, น้ำตกถ้ำพระ, เป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ งานแห่เทียนเข้าพรรษา ช่วงเดือนกรกฎาคม, ประเพณีบุญบั้งไฟ, ประเพณีแข่งเรือยาว, งานไหลเรือไฟ หรือบั้งไฟพญานาค
คำขวัญของจังหวัด : “สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล”
 
ก่อนหน้านี้มีจังหวัดใหญ่ๆ หลายจังหวัดที่มีพื้นที่หลายอำเภอ ต่างของแยกตัว แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ หรือประชาชนไม่เห็นด้วย “ขวัญชัย วงศ์นิติกร” รักษาราชการแทนปลัดมหาดไทยย้ำว่าหลักเกณฑ์สำคัญคือประชาชนในพื้นที่ต้อง ยินยอมและต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะมีหลายจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่นจังหวัดนครราชสีมา นครศรีธรรมราช พยายามที่จะแยกเป็นจังหวัดหลายครั้ง แต่ประชาชนในพื้นที่คัดค้าน เพราะต้องการเป็นหลานย่าโม หรือมีพระธาตุเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
เมื่อครั้ง “ถวิล ไพรสณฑ์” เป็น ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ ส.ส.เขตฉวาง ทุ่งสง ได้เคยยกร่าง พรบ.จัดตั้งจังหวัดทุ่งสงไว้แล้วด้วยซ้ำ แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ ทั้งๆ ที่มีความเหมาะสม เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และศูนย์กลางคมนาคม เนื่องจากคนย่านนั้นไม่เอาด้วย ต้องการมีพระบรมธาตุเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเหมือนเดิม 
อย่าง จังหวัดฝาง ที่มีประชาชนลงชื่อเสนอจัดตั้งจังหวัดฝาง แยกออกจากจังหวัดเชียงใหม่ แต่ประชาชน อ.เชียงดาว อ.พร้าว และ อ.เวียงแหง ที่ต้องไปขึ้นอยู่กับจังหวัดฝางไม่เอาด้วย เนื่องจากยังอยากขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ เพราะอยู่ใกล้และเดินทางสะดวกกว่า การเดินทางไป อ.ฝาง นั้นยากลำบาก แม้กฎหมายจะอยู่ในขั้นตอนของสภาแล้ว แต่ยังไม่สามารถออกเป็นกฎหมายได้ เพราะประชาชนไม่ยอมนี่แหละ
 
 
แต่ “บุญเสริม จิตเจนสุวรรณ” ผอ.สำนักปกครองท้องที่ กรมการปกครอง บอกว่า ยังมีการเสนอขอจัดตั้งจังหวัดใหม่หลายจังหวัด เช่น จังหวัดไกลกังวล โดยแยก อ.ปราณบุรี อ.หัวหิน อ.สามร้อยยอด ออกจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และแยก อ.ชะอำ ออกจาก จ.เพชรบุรี แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากมีเพียง 4 อำเภอ เนื้อที่เพียงแค่ 3,136 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.36 แสนคน และประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย
ยังมีจังหวัดพระนารายณ์ เสนอขอแยก อ.โคกเจริญ อ.ชัยบาดาล อ.ท่าหลวง อ.พัฒนานิคม อ.ลำสนธิ อ.สระโบสถ์ อ.หนองม่อง และ กิ่ง อ.ม่วงค่อม รวม 8 อำเภอ ออกจาก จ.ลพบุรี แต่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือหากแยกออกไป จังหวัดลพบุรีจะมีอำเภอเหลือเพียง 4 อำเภอ ไม่เหมาะสมในการบริหารงานในรูปแบบจังหวัด และจังหวัดพระนารายณ์จะมีพื้นที่ 3,823 ตารางกิโลเมตร ส่วนจังหวัดลพบุรีจะเหลือพื้นที่เพียง 2,376 ตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ยังมีการขอจัดตั้งจังหวัดแม่สอด โดยแยก อ.แม่สอด อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด อ.พบพระ และ อ.อุ้มผาง ออกจาก จ.ตาก จะทำให้ จ.ตาก เหลือเพียง 4 อำเภอ ทำให้ จ.ตาก ไม่มีความเหมาะสม และจะทำให้ขาดศักยภาพในการบริหารจัดการในรูปแบบจังหวัดได้ จึงต้องไปจัดตั้งแม่สอดเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ที่มา : th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกตั้ง ปี 2554


[เลือกตั้ง 2554] จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัด

ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการเลือกตั้งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะช่วยเสริมศักยภาพให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้อย่างง่ายขึ้นคือ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในแต่ละจังหวัด (ผู้เขียนเองบางทีก็งงว่าจังหวัดที่บ้านมี ส.ส. กี่คน)
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีทั้งหมด 375 คนจาก 375 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ แต่ละจังหวัดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร (170,000 คนต่อ ส.ส. 1 คน) สถิติเบื้องต้นที่น่าสนใจคือ
  • จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน
  • จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดโดยไม่นับกรุงเทพฯ คือ นครราชสีมาจำ จำนวน 15 คน
  • จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. น้อยที่สุดคือ (เรียงตามลำดับตัวอักษร) ตราด นครนายก พังงา ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี แม่ฮ่องสอน จังหวัดละ 1 คน
  • จังหวัดบึงกาฬ ที่แยกออกมาจากจังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดล่าสุดที่มี ส.ส. จำนวน 2 คน
นอกจากนั้นเรายังได้ลองทำ visualisation ข้อมูล พื้นที่-จำนวน ส.ส. ลงบนแผนที่ โดยใช้ความ อ่อน-เข้ม ของสีในการบอกถึงจำนวน ส.ส. ในแต่ละจังหวัด สีขาว คือจำนวน ส.ส. น้อยที่สุด สีเขียวเข้ม คือจำนวน ส.ส. มากที่สุด ผู้ใช้สามารถคลิกแผนที่แต่ละจังหวัดเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้
ดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัด: รูปแบบ OpenDocument spreadsheet (.ods) | รูปแบบ Excel (.xls) (ทั้งสองรูปแบบเอาไปแปลงเป็น CSV ต่อได้)
ตัวอย่างบางส่วน (ดูทั้งหมดในรูปแบบ HTML)

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

TOUR EIFFEL

Logo monument classe.svg หอไอเฟล
Tour Eiffel
Tour eiffel at sunrise from the trocadero.jpg
ข้อมูล
ที่ตั้งธงชาติของฝรั่งเศส ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สถานะเสร็จสมบูรณ์
เริ่มก่อสร้าง31 มีนาคม พ.ศ. 2432
ก่อสร้างพ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2432
(2 ปี 2 เดือน 5 วัน)
การใช้งานหอสังเกตการณ์ หอกระจายคลื่นวิทยุ
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด324 เมตร (1,063 ฟุต)
หลังคา300.65 เมตร (986 ฟุต)
บริษัท
สถาปนิกสตีเฟน โซแวสตร์
วิศวกรโมริส โกชแล็งและเอมีล นูกูนิเยร์
นายจ้างกุสตาฟ ไอเฟล

WoW.. บล็อกของชั้นนน

กว่าจะทำได้

....