วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เส้นทางที่

Passage du Gois Mont des Alouettes -- 191.5 กม.

สีเสื้อในวันนี้
 
 


อันดับเวลารวมของเสื้อเหลือง



 
 




ส่วนเวลารวมแบบทีมGarmin ยังที่หนึ่งเหมือนเดิม

 
 


ระยะทางสั้นกว่าวันที่ผ่านมาหน่อยนึง




ส่วนสภาพเส้นทาง ก็ได้โยกกันอีกแน่ๆ




กติกา
ที่มาครับ http://203.121.145.180/forum/viewtopic.php?f=60&t=311795
เท่าที่อ่านมาคร่าวๆนะครับสำหรับ TDF (Tour de France)
- เป็นการแข่งแบบบุคคลแต่นักแข่งต้องสังกัดทีม (จำนวนทีมเข้าแข่งขัน 20-22ทีม)
- ทีมที่จะเข้าแข่งขันต้องเป็นทีมที่ได้รับเชิญจากผู้จัดฯ
- แต่ละทีมมีนักปั่นทีมละ 9 คน ช่วยกันทำหน้าที่(ปั่น)ต่างๆกันไป
- แข่งขันกันในช่วงสามสัปดาห์ (21 วัน)
- แข่งวันละสเต็จทุกวัน (มีวันพัก 2 วัน) ระยะทางรวมประมาณ 3,200 ก.ม.
- แบ่งเป็นสเต็จทางเรียบประมาณครึ่งหนึ่ง, TT ทีม 1 สเต็จ, TT เดี่ยว 1 สเต็จ...ที่เหลือทางขึ้นเขา (เกือบสิบสเต็จ)
- ผู้ชนะประเภทเวลารวม (เสื้อเหลือง) คือผู้ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด (บางสเต็จ/จุดพิเศษมีการลดเวลาให้ผู้เข้าเส้นชัยเป็นโบนัส)
- ผู้ชนะประเภทคะแนนรวม (เสื้อเขียว) คือผู้ทำแต้มสะสมสูงสุด โดยผู้ที่เข้าเส้นชัย 25 อันดับแรกในทุกสเต็จจะได้คะแนนสะสม
- ผู้ชนะในสเต็จขึ้นเขา (เสื้อลายจุด) คือผู้ทำคะแนนสะสมในสเต็จภูเขารวมสูงสุด
- ผู้ชนะที่อายุน้อยกว่า 25 (เสื้อขาว) ที่ทำเวลารวมดีที่สุดในกลุ่มนักปั่นอายุน้อย
- ผู้ชนะประเภททีมคือนับเวลารวมของคนที่ดีที่สุดสามคนแรกของแต่ละสเต็จ
- ผู้ชนะประเภท Super Combativity คือนักปั่นที่ปั่นได้ดุเดือด (break-away?)

ประวัติการแข่งจักรยาน Tour de France

การแข่งจักรยาน Tour de France คือการแข่งจักรยานทางไกล ที่มีระยะทางประมาณ 3,600 กม.
ใช้เส้นทางบนถนนของประเทศฝรั่งเศล และประเทศใกล้เคียงเป็นสังเวียนอันดุเดือด
กินระยะเวลา 3 สัปดาห์ การแข่งจะแบ่งออกเป็นช่วงๆในแต่ละวัน เรียกว่า "เสตจ"
เวลาของแต่ละวันจะถูกบันทึกเอาใว้ ซึ่งผุ้แข็งแกร่งที่สุด ทำเวลารวมทุกเสตจได้น้อยที่สุด
จะเป็นผู้ชนะการแข่งรายการนี้ ได้ถือครองเสื้อเหลือง อันเป็นเกียรติยศสูงสุดของโลกจักรยาน


การแข่งขันจะใช้เส้นทางแตกต่างกันทุกปีไม่ เหมือนกัน แต่นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 เป็นต้นมา
เส้นชัยสุดท้ายจะอยู่ที่ถนน Champs-Élysées ถนนเส้นที่สวยที่สุดในโลกกลางกรุงปารีส
 ถือเป็นไคลแมกซ์สุดท้ายก่อนสิ้นสุดชัยชนะต่อหน้าประตูชัยที่ตั้งตระหง่าน เ
ป็นสักขีพยานแด่ผู้แข่งขันทั้งหมดที่ฝ่าฟันการเดินทางสุดโหดมาได้สำเร็จ

Tour de France สมัยใหม่ ถูกแบ่งออกเป็นเสตจต่างๆ 21 เสตจ มีระยะทางรวมไม่เกิน 3,500 กม.
ซึ่ง การแข่งที่ยาวที่สุดเคยเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1926 มีระยะทางทั้งสิ้น 5,745 กม.
 และการแข่งที่สั้นที่สุดมีระยะทางเพียง 2,420 กม. เมื่อปี ค.ศ.1904 การแข่งจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
 คั่นด้วยวันพัก 2 วัน โดยปกติแล้ววันพักดังกล่าวคือวันที่ผู้จัดออกแบบมาเพื่อสำหรับการขนส่งนัก
 กีฬาและทีมงานจากเมืองหนึ่งไปเริ่มต้นอีกเมืองหนึ่ง เพราะปกติรายการนี้ เมื่อสิ้นสุดที่เมืองใด
วันรุ่งขึ้นจะเริ่มต้นที่เมืองนั้นเดินทางต่อไปอีกเมืองหนึ่ง เส้นทางโดยรวมของการแข่งขัน
 คือการวนรอบฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียงแบบตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา
ความโหดเทียบได้กับการวิ่งมาราธอนติดกันทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
และหากนำความสูงที่ได้จากการไต่เขาทุกลูกมารวมกันก็จะได้ความสูงยิ่งกว่าการ
ไต่ยอดเขาเอฟเวอเรส 3 ลูกต่อกัน
เมื่อย้อนอดีตกลับไป Tour de France เริ่มกำเนิดมาจากไอเดียของนักเขียนบทความ
กีฬาหนุ่ม Géo Lefèvre ที่เพิ่งเข้ามาทำงานกับหนังสือพิมพ์หัวเล็กๆชื่อว่า L'Auto ได้ไม่นาน 
ช่วยหาทางออกทางด้านยอดขายให้แก่หนังสือพิมพ์ที่ต้องการขยายยอดขายของตนสู้
กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่รายอื่นๆให้ได้ ในปี 1903 ในเวลานั้นการแข่งจักรยานก็ได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่แล้ว L'Auto เ
องก็หวังว่าการจัดการแข่งขันระยะทางไกลขนาดใหญ่ น่าจะดึงดูดความสนใจจากผู้คนให้ติดตามอ่านการแข่งนี้ได้ไม่ยากนัก

การ แข่งครั้งแรก ถูกวางแผนจัดขึนบนเส้นทาง 6 เสตจตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน 
เริ่มต้นจากกรุงปารีสไปสู่เมืองลียง, มัคเซล์, บอคโดวซ์, นองซ์ ก่อนจะกลับมาสิ้นสุดที่กรุงปารีส
การแข่งขันใช้ระยะเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนก่อนจะมีเวลาพักนิดหน่อยระหว่าง
วันแล้วเริ่มต้นเดินทางต่อ ด้วยความโหดเช่นนี้ทำให้มีผุ้สมัครเข้าร่วมเพียง 15 คน 
การแข่งขันจึงถูกแก้ไขเป็น 19 วันเริ่มต้นจากวันที่ 1 กรกฏาคม ไปสิ้นสุดวันที่ 19 กรกฏาคม 
และผู้ที่สิ้นสุดได้ 50 อันดับแรกจะได้ของแถมเป็นเงินโบนัสวันละ 5 ฟรังซ์ พร้อมทั้งลดค่าสมัครจาก 20 ฟรังซ์ เป็น 10 ฟรังซ์ 
เท่านั้นยังไม่พอ เพิ่มเงินรางวัลสำหรับผุ้ชนะเลิศสูงถึง 12,000 ฟรังซ์ ไม่รวมผุ้ชนะแต่ละวันจะได้เงินรางวัล 3,000 ฟรังซ์
อีกต่างหาก ดึงดูดนักจักรยานทั้งมืออาชีพและนักปั่นสมัครเล่น ไปจนถึงนักพจญภัยแสวงโชคเข้าร่วมการแข่งครั้งแรกถึง 80 คน
เวลา 15.16 ของวันที่ 1 กรกฏาคม ปีนั้นเอง การแข่งขัน Tour de France
ครั้งแรกได้เปิดฉากขึ้นอย่างเป้นทางการที่ผมู่บ้านชานกรุงปารีส หนังสือพิมพ์ L'Auto ได้บรรยายใว้ว่า
"สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีต่างโบก หมวกและร่มในมือเง้ารอคอยสัมผัสมัดเกล้ามที่แข็งแกร่งดุจเหล็กกล้าของผู้ชนะ
ที่จะถือรางวัลที่หนึ่ง ณ. เส้นชัยที่มีแต่ผู้เหนือมนุษย์จะไปถึงได้"
Maurice Garin หนุ่มชาวฝรั่งเศสวัย 32 ปี ทำเวลารวมจากทุกวันได้น้อยที่สุดด้วยความเร็วเฉลี่ย 25.68 กม./ชม.
คว้าชัยการแข่ง Tour de France ครั้งแรกได้สำเร็จ และนักแข่งคนสุดท้ายที่จบการแข่ง คนที่ 64 
ใช้เวลาช้ากว่าผู้ชนะ 64 ชั่วโมง 47 นาที 22 วินาที

กติกาการแข่งขันในระยะแรกใช้เวลาเป็นตัวตัดสินหาผู้ชนะ จนกระทั่งปี ค.ศ.1906-1912 
ผู้ชนะตัดสินจะคะแนนที่ได้จากอันดับการเข้าเส้นชัยในแต่ละเสตจเป็นหลัก 
นอกจากนี้ในระยะแรกผู้จัดยังต่อต้านจักรยานที่มีระบบเกียร์ รวมถึงการแข่งขันแปลกๆอย่างในปี ค.ศ.1936 
ที่ในหนึ่งวันมีการแข่งขันถึง 3 เสตจ และต้นกำเนิดการแข่งนี้มุ่งเน้นถึงความสำเร้จของตัวบุคคลมากกว่า 
แม้ว่านักกีฬาจะเข้าแข่งเป็นทีม แต่ห้ามเข้าช่วยเหลือกัน จักรยานที่ใช้นั้นก็ต้องเป็นคันเดียวกันตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายห้าม 
เปลี่ยนจักรยานระหว่างการแข่งขัน นักแข่งต้องแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น 
การแข่งขันไม่สนับสนุนให้มีระบบสปอนเซอร์ นักแข่งต้องไม่แสดงยี่ห้อของจักรยานในการแข่งขัน Tour de France ยุคเริ่มแรก
 ถึงขนาดในปี ค.ศ.1930 การแข่งขันระบุให้ผุ้เข้าแข่งขันใช้จักรยานสีเหลืองล้วนทุกคน 
ซึ่งกติกาก็อนุโลมให้นักแข่งที่โดนตัดออกหรือทิ้งห่างในวันหนึ่ง สามารถร่วมแข่งต่อเพื่อลุ้นแย่งรางวัลประจำวันได้ 
แต่ไม่สามารถมีส่วนร่วมในรางวัลผู้ชนะเวลารวม

   ทุกวันนี้กติกาของการ แข่งขันเปลี่ยนไปจากเริ่มต้นหลายประการ 
รูปแบบการแข่งปรับให้ทันสมัยตามยุคต่างจากมือผู้จัดรายหนึ่งไปสู่อีกยุุคของ 
ผู้จัดรายใหม่ ทุกวันนี้การแข่งขัน Tour de France มีรางวัลสำหรับชิงชัย 2 ประเภทหลักๆได้แก่
1)รางวัลผู้ชนะในแต่ละวัน
การแข่งจักรยานทางไกลรายการนี้ เน้นการแข่งแต่ละเสตจหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวสำหรับแต่ละวัน 
ไม่มีรางวัลที่ 2 และ 3 สำหรับผู้แพ้ มีเพียงคนแรกคนเดียวเท่านั้น ที่สามารถข้ามเส้นชัยในแต่ละเสตจได้ก่อน จะได้รับรางวัลนี้
2)รางวัลรวม จากทุกเสตจ
ตลอดเส้นทางการแข่งขัน จะมีการรวมเวลา และแต้มชนิดต่างๆเก็่บใว้ตลอด
 ผู้ที่ทำเวลาสะสมน้อยที่สุด หรือถือแต้มพิเศษมากที่สุดในแต่ละชนิดจะเป็นผู้นำในแต่ละรางวัล
 ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
ผู้นำเวลารวม
maillot jaune หรือเสื้อเหลือง คือสัญลักษณ์ของผู้นำที่ทำเวลารวมน้อยที่สุดของการแข่งขัน
ใครที่แข่งโดยสวมเสื้อสีนี้อยู่ คือผู้ที่กำลังทำเวลาได้ดีที่สุด
การ แข่งครั้งแรกยังไม่มีเสื้อเหลืองเป็นสัญลักษณ์ แต่ใช้ปลอกแขนสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของผู้นำเวลารวม 
เสื้อเหลืองถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1919 และผู้ใดที่จบการแข่งวันสุดท้ายพร้อมกับเสื้อเหลือง 
คือผู้กำชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ทั้งหมดในการแข่งขัน
ผู้ชนะที่มีอายุน้อย ที่สุดได้แก่ Henri Cornet ชนะด้วยวัยเพียง 19 ปี เมื่อปี ค.ศ.1904 
และผู้ชนะที่มีอายุมากที่สุดได้แก่ Firmin Lambot เมื่อปี ค.ศ.1922 ด้วยอายุถึง 36 ปี

๐ผู้ชนะคะแนนสะสม
เสื้อ maillot vert หรือเสื้อสีเขียว เป็นสัญลักษณ์สำหรับผู้นำคะแนนโบนัสการสปรินท์ 
หรือเรียกว่า "สปรินท์พอยท์" โดยคะแนนจะให้ตามลำดับของผู้ที่ผ่านจุดสปรินท์พอยท์ซึ่งกระจายอยู่ตามระยะ 
ของการแข่งในแต่ละเสตจ และมีค่าคะแนนสูงสุดเมื่อเป็นเส้นชัยของเสตจ สปรินท์พอยท์จะพบได้มากกว่าในเสตจช่วงทางราบ 
เนื่องจากเป็นรางวัลที่มุ่งเน้นสำหรับนักแข่งที่เป้นสิงห์ทางเรียบโดยเฉพาะ ซึ่งชนิดของเสตจและอันดับคะแนนเป็นดังนี้
Flat stages
35, 30, 26, 24, 22, 20, 19, 18, 17, 16, 15, 14, 13, 12, 11, 10, 9, 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2 และ 1 คะแนน
 สำหรับ 25 คนแรกที่เข้าเส้นชัยตามลำดับ
Intermediate stages
25, 22, 20, 18, 16, 15, 14, 13, 12, 11, 10, 9, 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 คะแนน 
สำหรับ 20 คนแรกที่เข้าเส้นชัยตามลำดับ
High-mountain stages
20, 17, 15, 13, 12, 10, 9, 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 คะแนน สำหรับ 15 คนแรกที่เข้าเส้นชัยตามลำดับ
Time-trials
15, 12, 10, 8, 6, 5, 4, 3, 2, 1 คะแนน สำหรับ 10 คนแรกที่เข้าเส้นชัยตามลำดับ
สำหรับสปรินท์พอยท์ในแต่ละจุดของเสตจต่างๆจะให้คะแนน 6,4 และ 2 คะแนนสำหรับ
นักแข่ง 3 คนแรกที่ผ่านจุดสปรินท์พอยท์นั้น
หากนักแข่งสองคน มีแต้มสะสมเท่ากันจะตัดสินโดยจำนวนขงเสตจที่นักแข่งชนะนำมาเทียบกัน 
หากเท่ากันก็จะเทียบจากจำนวนจุดสปรินท์พอยท์ที่นักแข่งชนะ และสุดท้ายหากยังไม่สามารถตัดสินผู้ชนะในการชิงชัยเสื้อเขียว 
จะใช้อันดับเวลารวมของนักแข่งที่เป็นปัญหามาตัดสินผู้ครองเสื้อเขียว
การ ให้รางวัลสำหรับสปรินท์เริ่มต้นครั้งแรกในการแข่ง Tour de France เมื่อปี ค.ศ.1953 
เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของการจัดการแข่งขัน แรกเริ่มถูกเรียกว่า "Grand Prix du Cinquentenaire" 
ผู้คว้าชัยเกียรติยศรางวัลนี้เป็นคนแรกได้แก่ Fritz Schär


14 กรกฎาคม' วันชาติฝรั่งเศส



          
          
วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี
ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่
การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ 

โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้ง
ได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรก
จากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน
เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติ
ได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์
ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติ
ขึ้นเรียกว่า "The Feast of the Federation" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี
ของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่
 "Champs-de-Mars" ในกรุงปารีส

       แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332
 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติ
ขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย "the Third Republic*"
นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่
โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้
วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันชาติฝรั่งเศส"และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปี
เดียวกันนั้น

       ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้น
เมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้
เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ
จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนาน
ไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ
ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา
การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึง
และร่วมฉลองในวันสำคัญที่
ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้