วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

The History of Valentine's Day

ตามประวัติกล่าวว่า วันนี้เป็นวันมรณภาพของนักบุญในศาสนาคริสต์ท่านหนึ่งชื่อว่า เซนต์วาเลนไทน์ ท่านผู้นี้ถูกพวกโรมันจับลงโทษถึงแก่ความตาย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช 269 ปี เนื่องจากท่านเป็นชาวโรมัน แต่ไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้เข้าบวชอยู่ในศาสนานั้น ชื่อว่า วาเลนตินุส (VALENTINUS) ในสมัยนั้น ประชาชนชาวโรมันนับถือศาสนาของชาวโรมันอีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีพระผู้เป็นเจ้าและเทวดาหลายองค์
 มีโบสถ์วิหารสำหรับพิธีบูชามีสมณะและนางชีเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ในสมัยนี้ ในระยะเริ่มแรกที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในกรุงโรม ทางรัฐบาลกรุงโรมเห็นว่าเป็นลัทธิที่อันตราย ต่อสังคมชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดนับถือศาสนาคริสต์ก็จะถูกจับตัวไปลงโทษอย่างรุนแรงต่อสาธารณชน เช่น ให้สัตว์ป่ากัดตาย ตรึงไม้กางเขนให้ตายบ้าง หรือเผาทั้งเป็น เป็นต้น พวกที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องคอยหลบซ่อนตัวไม่บอกให้ใครรู้ว่าตนเป็นคริสต์ศาสนิกชน และเมื่อถึงเวลาทำพิธีกรรมทางศาสนาของตน จะต้องแอบหนีลงไปทำพิธีในอุโมงค์ที่ใช้บรรจุศพ นอกกรุงโรม นักบุญวาเลนไทน์เป็นผู้กล้าหาญและคอยช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่เสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกทางราชการของกรุงโรมจับไปขังคุกหรือเอาไปทรมาน ในที่สุดท่านเองก็ถูกทางราชการของกรุงโรมจับตัวได้และเอาไปขังคุกไว้ 
เมื่อนักบุญวาเลนไทน์อยู่ในคุก มีผู้คุมชื่อ อัสเตริอุส (ASTERIUS) เป็นผู้มีจิตใจเมตตาและคอยให้ความช่วยเหลือมิให้เดือดร้อน ผู้คุมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ระหว่างที่นักบุญวาเลนไทน์ติดคุกอยู่นั้น ลูกสาวผู้คุมก็นำอาหารให้และช่วยติดต่อกับคนนอกคุก ที่นับถือศาสนาศริสต์ให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ในขณะที่เขาถูกจับขังคุกนั้น ก็พบรักกับสาวตาบอดซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในนั้น และด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของคนรักของเขาซึ่งเธอตาบอด หายเป็นปกติ และได้อบรมเกลี้ยกล่อมผู้คุมทั้งลูกสาวให้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย หลังจากนักบุญวาเลนไทน์ติดคุกมาเป็นเวลา 1 ปีพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก็มีคำสั่งให้นักบุญเข้าเฝ้า
 เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นนักบุญก็รู้สึกต้องพระทัยในกริยามารยาท ความสำรวมและความมีสง่าราศีของนักบุญ จึงตรัสเกลี้ยกล่อมให้นักบุญเลิกนับถือศาสนาคริตส์เสีย แล้วกลับมานับถือศาสนาของชาวโรมันต่อไปตามเดิม พระองค์จะพระราชทานอภัยโทษให้ แต่นักบุญวาเลนไทน์ก็ปฏิเสธ ไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ มิหนำซ้ำกับเริ่มสั่งสอนอบรมพระเจ้าจักรพรรดิให้ทรงเห็นดีเห็นชอบ และทรงนับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าจักรพรรดิกริ้วมาก จึงมีรับสั่งให้นำตัวนักบุญวาเลนไทน์ไปตีด้วยไม้กระบอง แล้วเอาก้อนหินทุ่มและนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น เขาได้เขียนจดหมายสั้น ๆ เป็นการอำลาส่งไปให้หญิงคนรัก ของเขาและลงท้ายในจดหมายว่า "จากวาเลนไทน์ของเธอ" รุ่งขึ้นของเช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270
วาเลนตินัส ก็ถูกนำไปตัดศีรษะและเอาศพไปฝังไว้ที่เฟลมิเนี่ยนเวย์ซึ่งภายหลังมีการสร้างโบสถ์หลังใหญ่คร่อมสุสานของเขาไว้ เพื่อเป็น อนุสรณ์รำลึกถึงชีวิตและความรักอันยิ่งใหญ่ของเขา คนทั่วไปประทับใจกับความรักของเขาจึงยึดถือเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันวาเลนไทน์" ภาษาอังกฤษเรียกว่า Saint Valentine's Day หรือ Valentine's Day หรือวันแห่งความรัก ซึ่งต่อมาได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรปและอเมริกา และเข้ามาในทวีปเอเชียด้วย

          ผู้ที่ตายเพื่อศาสนาและได้เกลี้ยกล่อมให้คนอื่นหันมายอมรับนับถือศาสนา เป็นผ้ที่ควรได้รับการยกย่อง และยังสามารถทำปาฏิหารย์รักษาให้คนตาบอดเป็นคนตาดีได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญหรือเซนต์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ศริสต์ศาสนิกชนถือว่า เป็นวันของเซนต์วาเลนไทน์ เพราะว่าเป็นวันที่ท่านถึงแก่มรณภาพ ในสมัยโรมันเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันตรุษที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย(lupercalia) มีความสำคัญมากในทางเพศ ผู้ชายจะวิ่งแก้ผ้าหาคู่เพื่อฉลองตรุษโดยจับฉลากชื่อหญิงสาวแล้วเกี้ยวพาราสีจนได้เป็นภรรยา
                    ส่วนประเทศอังกฤษไม่ได้มาจากนักบุญ แต่บังเอิญมาตรงกันพอดี คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันเริ่มต้นปักษ์ที่ 2 แห่งเดือนที่สองของปี คนยุโรปจึงจับคู่กัน เอาเป็นวันส่งบัตรหรือของขวัญให้คนรักให้คนรัก นิยมในกลุ่มหนุ่ม
แล้วทำไม? วันวาเลนไทน์ต้องให้ดอกกุหลาบด้วยนะ...สงสัยจัง...
ด้วยความที่กุหลาบมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว จึงทำให้ความสวยงามของดอกและกลิ่นอันชวนพิสมัยของ
ราชินีแห่งดอกไม้นี้เป็นที่เลื่องลือมาช้านาน และล้วนกล่าวถึงความงามเป็นสื่อที่แสดงถึงความสุข ความมีไมตรีจิต ความน่ารักความสวยงาม การบูชา และการเกี้ยวพาราสี ดังนั้น กุหลาบจึงเป็นเสมือนตัวแทนแห่งความรัก และความอมตะ จนมีตำนานกล่าวขานกันต่าง ๆ นานา ตั้งแต่สมัยกรีก ตำนานเล่าว่า "คลอรีส" เทพธิดาแห่งดอกไม้ ได้บันดาลให้ร่างของนางไม้กลายเป็นกุหลาบ และยกให้เป็นราชินีของดอกไม้ จากนั้นต่อมาก็มีการมอบดอกกุหลาบแก่ "อีรอส" ลูกชาย ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก
ส่วนในศาสนาคริสต์เชื่อกันว่า ในสมัยที่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนอยู่นั้น พระโลหิตได้ไหลหยดลงบนต้นหญ้ามอสส์
และได้บังเกิดเป็นต้นกุหลาบที่มีดอกสีแดงสด จึงมีการเรียกขานกุหลาบชนิดนี้ว่า "กุหลาบมอสส์" นอกจากนี้ยังมีการสู้รบกันระหว่าง 2 ตระกูลใหญ่ คือราชวงศ์ยอร์ค ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นดอกกุหลาบขาว และราชวงศ์แลงแคสเตอร์ ใช้ดอกกุหลาบแดงเป็นสัญลักษณ์ และได้เรียกสงครามครั้งนี้ว่า "สงครามกุหลาบ" ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1948-2028 และในสมัยต่อมาพวกกุหลาบแดงได้มาแต่งงานกับพวกกุหลาบขาว ซึ่งในปัจจุบันกุหลาบได้ถือเป็นดอกไม้ประจำชาติของชาวอังกฤษไป นี่แหละค่ะถ้าทุกคนมีความรักให้แก่กันแล้วโลกจะสงบสุขแน่นอนค่ะ : )

เรามาดูกันในประเทศไทยบ้างค่ะมีเรื่องราวเล่าขานถึงความงดงามของดอกกุหลาบไว้โดยปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ของพระมหาธีราชเจ้า รัชกาลที่ 6 ในเรื่อง "มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานดอกกุหลาบ" ซึ่งได้ปรากฏชัดว่าดอกกุหลาบได้กลายเป็นดอกไม้ที่นิยมไปทั่วโลก

เรามาย้อนอดีต...กุหลาบ...ราชินีแห่งบุปผชาติกันดูไหม
ด้วยความโดดเด่นของรูปโฉมอันพิลาส กอปรกับกลิ่นหอมที่มีเสน่ห์เย้ายวนชวนให้น่าหลงไหล กุหลาบจึงเป็นดอกไม้
ที่นิยมมาตั้งแต่อดีตกาล โดยสันนิษฐานว่า กุหลาบถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัย Taceous หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว โดยดูได้จากซากฟอสซิลที่ขุดพบโดยนักวิทยาศาสตร์ แต่หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดแน่นอนจะอยู่ในราว 5,000 ปีที่ผ่านมาค่ะ ตั้งแต่สมัย สุเมเรียน (Sumerians)โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดค้นพบน้ำที่มีกลิ่นกุหลาบในหลุม ศพของกษัตริย์ในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องประดับของชาวสุเมเรียน ซึ่งมีรูปทรงเป็นดอกกุหลาบทำด้วยทองคำ แต่ในบางแหล่งได้กล่าวไว้ว่า กุหลาบมีกำเนิด ณ เทือกเขาคอเคซัส ประเทศเปอร์เซีย หรืออิหร่านในปัจจุบันและมีชื่อเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "คุล" Gol หรือ Gul ซึ่งแปลว่า ดอกไม้ และคำว่า "คุลาพ" หมายถึง กุหลาบอย่างที่คนไทยเราเรียกกัน
สำหรับประเทศไทยไม่ทราบแน่ชัดว่า มีกุหลาบมาตั้งแต่สมัยใด หากแต่มีการบันทึกของราชทูตฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าได้เห็นดอกกุหลาบอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และอีกหลายแห่งที่ปรากฎหลักฐานว่า มีกุหลาบเข้ามาเมือง-ไทยแล้วก็คือ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ที่ได้กล่าวถึงความงามของดอกกุหลาบไว้ด้วยรูปร่างและสีสันของดอกกุหลาบ...แปลความหมายได้
ดอกกุหลาบนั้นทั้งลักษณะและสีสันของมันสามารถสื่อความหมายถึงคนที่เรามอบให้ ได้ว่าอย่างไร ที่เราทุกคนเรียกมันว่า "ภาษาดอกไม้" อย่างไรไงคะ เรามาดูกันเลยนะคะว่าดอกกุหลาบแต่ละแบบ แต่ละสีสื่อความหมายไว้ว่าอย่างไรกันบ้าง
กุหลาบแดง หมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของคิวปิดและอีรอส (คุณกามเทพไง) เป็นสิ่งนำ
โชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับ
กุหลาบขาว หมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ ความเงียบสงบ และนำโชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับเช่นเดียวกับดอก
กุหลาบแดง
กุหลาบสีชมพู หมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์ที่สุด
กุหลาบสีเหลืองหรือสีส้ม หมายถึง ความรักร้อนแรงและยาวนาน ไม่จืดจาง หวานชื่น และมีความสุข
กุหลาบตูม หมายถึง ความรักและความเยาว์วัย
กุหลาบบาน หมายถึง ความรักที่กำลังเบ่งบาน ความอ่อนหวาน สดชื่น

เป็นอย่างไรบ้าง หวังว่าคุณคงหายสงสัยแล้วนะคะว่าทำไมวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีจึงเป็นวันวาเลนไทน์
และทำไมต้องให้ดอกกุหลาบในวันนั้น อ้อ ประเพณีของหนุ่ม-สาวชาวอาทิตย์อุทัย หรือชาวญี่ปุ่นนั่นเองจะแตกต่างกับ ชาติอื่น ๆ คือในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือ วันวาเลนไทน์ สาว ๆ จะเป็นคนให้ ช็อกโกเลต (Chocolate) รูปหัวใจขนาดเล็ก-ใหญ่ แล้วแต่ความชอบน้อย-มาก ตัวเองทำเองแก่หนุ่ม ๆ ที่เธอชอบ เรียกว่าวันนั้นหนุ่ม ๆ ยิ้มกันแก้มปริกันเป็นแถวเลย หลังจากวันนั้นอีกหนึ่งเดือนคือวันที่ 14 มีนาคมหนุ่ม ๆ ก็จะมอบดอกกุหลาบ เพื่อเป็นการขอบคุณสาวผู้ให้

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เลขโรมัน

เลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้
I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1
V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5
X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10
L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50
C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100
D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500
M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000
นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้
(U+2180) มีค่าเท่ากับ 1,000
(U+2181) มีค่าเท่ากับ 5,000
(U+2182) มีค่าเท่ากับ 10,000
(U+2187) มีค่าเท่ากับ 50,000
(U+2188) มีค่าเท่ากับ 100,000

การเขียนเลขโรมัน

การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม[1] โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น
  • MCCCXXV มีค่าเท่ากับ 1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
  • MMMDLXVII มีค่าเท่ากับ 3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567
ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น
  • IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
  • XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
  • MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
  • MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468
จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น
  • V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
  • X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000
  • L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000
  • C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000
  • D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000
  • M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000
โดยปกติแล้ว การเขียนเลขโรมันจะไม่เขียนสัญลักษณ์เดียวกันอยู่ติดกันตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ยกเว้นบนหน้าปัดนาฬิกา ที่จะใช้ IIII แทนเวลา 4 นาฬิกาหรือ 16 นาฬิกา เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านเวลา