จากการจัดอันดับตึกระฟ้า สูงที่สุดในโลก 2011 จัดอันดับ 10 ตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลก ตึกสูงที่สุดเท่าที่เคย มีมามีความสูงมาก ตึกที่สูงที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน 2011 มีหลายตึก ที่เป็นโครงการกำลังก่อสร้างและสร้างเสร็จแล้ว เปิดใช้งานจริง ไม่รวมอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ล่าสุด ตึกที่สูงที่สุดในโลกอยู่ที่ มหานครดูไบ ประเทศอาหรับฯ ซึ่งทำลายสถิติความสูงที่เคยมีมาก่อนหน้านี้อย่างขาดลอย ความสูงกว่า 818 เมตร
ตึกระฟ้า ที่สูงที่สุด จะเทียบอันดับให้ดูเห็นจะ ๆ กันไปเลย ตึกประเทศไหนสูงกว่ากัน ซึ่งการมีตึกสูง ในประเทศ เป็นการแสดงถึงศักยภาพวิศวกรรมการก่อสร้างของมนุษย์ ที่สร้างได้อย่างสุดยอด สามารถอยู่บนฟ้า บนเมฆ หมอก และลมเย็นๆ พัดผ่าน เห็นวิว สูง ยามค่ำคืน และกลางวัน ตึกที่สูงที่สุด ตึกระฟ้า
เรียงอันดับ ตึกที่สูงที่สุดในโลก ล่าสุด
อันดับทื่ 1 ตึก ประเทศดูไบ ตึก Burj Dubai เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เบิร์จ คาลิฟา สร้างเสร็จและเปิดตัวในปี 2009 วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ด้วยความสูง 818 เมตร หรือ 2000 ฟุต
และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
ตึกสูงที่สุด มหานครดูไบ
อันดับที่ 2
ตึก ระฟ้า Abraj Al Bait Towers Saudi Arabia ที่นคร Mecca ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ด้วยความสูง 595 m
อันดับที่ 3
Taipei 101 ประเทศ ไต้หวัน สูง 508 m หรือ 1670 ฟุต
อันดับ 4
ตึกที่สูง ตึก เซี่ยงไฮ้เวิลด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ ด้วยความสูง 492 เมตร ประกอบด้วยชั้น 101 ชั้น ที่เมือง เซี่ยงไฮ ประเทศจีน ตั้งคู่กับตึกจินเหมาทาวเวอร์
ตึก เซี่ยงไฮ้เวิลด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ และ ตึกจินเหมาทาวเวอร์
อันดับที่ 5
ตึกอินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์ ฮ่องกง ด้วยความสูง 484 เมตร 118 ชั้น ที่ตั้งเรียกว่า ยูนิออนสแควร์เฟส 7
ตึกอินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์
อันดับที่ 6และ 7
ตึกแฝดเปโตรนาส มีสอง ตึกคู่กัน ความสูง 452 เมตร จำนวน88 ชั้น ออกแบบโดย เซซาร์ เปลลี สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2541 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
ตึกแฝดเปโตรนา
ลำดับที่ 8
หนานจิงกรีนแลนด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ ตึกระฟ้าที่สูงเป็นของโลก มีความสูง 450 เมตร 89 ชั้น
อันดับที่ 9
ตึกวิลลิสทาวเวอร์ ในอเมริกา เดิมที่คุ้นหูว่า"เซียรส์ทาวเวอร์"เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา สร้างในปี พ.ศ.2513 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2517 มีความสูง 442 เมตร และมีจำนวนชั้นทั้งสิ้น 108 ชั้น เคยครองตำแหน่งอาคารสูงที่สุดของโลกตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2518 จนถึงปีพ.ศ. 2548 ก่อนจะเสียตำแหน่งให้กับตึกแฝดเปโตรนาสของมาเลเซีย
ตึกวิลลิสทาวเวอร์
อันดับที่10
ตึกกว่างโจวเวสต์ทาวเวอร์ ตึกที่สูงของโลก “กว่างโจวเวสต์ทาวเวอร์”ตั้งอยู่ที่เมืองกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ตึกระฟ้าขนาด 103 ชั้น สูง 440.2 เมตร
วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554
พ.ศ. 2554 มีจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้น 2 ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นได้ทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 15 มิถุนายน (เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 16 มิถุนายน) ซึ่งมีรายงานว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทยไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากเมฆปกคลุมท้องฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ครั้งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 มีโอกาสเห็นได้ดีกว่า เนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาว แม้ว่าช่วงเวลามืดเต็มดวงจะสั้นกว่าครั้งที่แล้วมาก
จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เป็นอุปราคาครั้งสุดท้ายของปี 2554 เกิดขึ้นในคืนวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2554 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ และสำหรับวงการโทรทัศน์แล้วถือเป็นช่วงเวลาที่มีผู้สนใจมากที่สุด (prime time) เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่นอน ต่างกับครั้งที่แล้วที่เกิดในเวลากลางดึก
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทย คือ ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชีย ฮาวาย มหาสมุทรแปซิฟิก และเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ โดยแถบยุโรปและแอฟริกาเกิดปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้นในค่ำวันที่ 10 ธันวาคม ส่วนแถบอเมริกาเกิดปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ตกในเช้ามืดของวันเดียวกัน ตามเวลาท้องถิ่น
จันทรุปราคา
จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน จนทำให้ดวงจันทร์ผ่านเงาของโลกซึ่งทอดยาวออกไปในอวกาศ เงานี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เงามืดและเงามัว เงามัวเป็นส่วนที่จางมาก เรามักสังเกตไม่เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงกับดวงจันทร์ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามัว ยกเว้นกรณีที่ดวงจันทร์อยู่ในเงาลึกมากพอ (โดยทั่วไปคือเวลาที่เงามัวกินพื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของผิวด้านสว่างของดวงจันทร์)หากดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืด เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง เฉลี่ยเกิดขึ้นประมาณ 70 ครั้งต่อศตวรรษ จันทรุปราคาหลายครั้งที่มีเพียงบางส่วนของดวงจันทร์เท่านั้นที่ผ่านเข้าไปในเงามืด เรียกว่าจันทรุปราคาบางส่วน เฉลี่ยเกิดขึ้นประมาณ 84 ครั้งต่อศตวรรษ (สถิติในช่วง 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 3000)
สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งบนพื้นโลกไม่สามารถสังเกตจันทรุปราคาได้ทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าขณะเกิดปรากฏการณ์เป็นเวลากลางคืนในท้องถิ่นนั้น ๆ หรือไม่ เพราะเมื่อเกิดจันทรุปราคาแล้ว เฉพาะซีกโลกด้านกลางคืนเท่านั้นที่สังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ แต่นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีโอกาสเห็นจันทรุปราคาได้บ่อยกว่าสุริยุปราคา ซึ่งสำหรับสุริยุปราคา เขตที่มีโอกาสเห็นสุริยุปราคากินพื้นที่เพียงบางส่วนของผิวโลกเท่านั้น ไม่ใช่ซีกโลกด้านกลางวันทั้งหมด
ลำดับเหตุการณ์
จันทรุปราคาครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อดวงจันทร์สัมผัสเงามัวของโลกในเวลา 18:34 น. แต่จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ จนกระทั่งดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกมากพอ ราว 1 ทุ่มครึ่ง หรือก่อนหน้านั้นไม่นาน อาจเริ่มสังเกตว่าพื้นผิวดวงจันทร์โดยรวมดูหมองคล้ำลงเล็กน้อย โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกของดวงจันทร์ ซึ่งก็คือด้านล่าง หรือด้านที่หันเข้าหาขอบฟ้าจันทรุปราคาบางส่วนเริ่มขึ้นเวลา 19:46 น. เป็นจังหวะที่ดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามืดของโลก ขอบด้านตะวันออกของดวงจันทร์จะเริ่มแหว่ง ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีมุมเงยสูงจากขอบฟ้าเกือบ 30° ดาวพฤหัสบดีอยู่สูงขึ้นไปเกือบถึงจุดเหนือศีรษะ ส่วนดาวศุกร์ใกล้จะตกลับขอบฟ้าหรือตกลับขอบฟ้าไปแล้วสำหรับบางพื้นที่
ดวงจันทร์จะเข้าไปในเงามืดลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ ถูกบังครึ่งดวงเมื่อใกล้เวลา 2 ทุ่มครึ่ง จากนั้นเริ่มบังหมดทั้งดวงในเวลา 21:06 น. นับเป็นเวลาที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง แต่เรายังสามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้ โดยพื้นผิวดวงจันทร์อาจมีสีน้ำตาล สีส้ม หรือสีแดงอิฐ และอาจมีสีเหลืองหรือฟ้าปะปนอยู่ได้เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะในบรรยากาศโลกตรงบริเวณรอยต่อระหว่างด้านกลางวันกับกลางคืนของโลก แสงอาทิตย์ที่หักเหและกระเจิงขณะเดินทางผ่านบรรยากาศโลก เป็นสาเหตุที่ทำให้ดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงไม่มืดสนิท
เวลา 21:32 น. ดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาโลกมากที่สุด คาดหมายได้ว่าเป็นเวลาที่ดวงจันทร์มืดคล้ำที่สุด (หากท้องฟ้าเปิดตลอดปรากฏการณ์) โดยขอบด้านทิศเหนือ (ซ้ายมือ) น่าจะคล้ำกว่าด้านทิศใต้ เนื่องจากอยู่ใกล้ศูนย์กลางเงามากกว่า นอกจากนี้ พื้นที่ที่เรียกว่ามาเร (ทะเล) ซึ่งเป็นส่วนคล้ำบนดวงจันทร์ ก็อยู่ในบริเวณด้านทิศเหนือมากกว่าด้านทิศใต้
จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดลงในเวลา 21:57 น. รวมเวลาที่ดวงจันทร์ทั้งดวงอยู่ในเงามืดของโลกนาน 51 นาที หลังจากนั้น ดวงจันทร์จะเคลื่อนออกจากเงามืด ใช้เวลาอีกเกือบ 1 ชั่วโมงครึ่ง ดวงจันทร์จึงจะกลับมาเต็มดวงในเวลา 23:18 น. ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเกือบถึงจุดเหนือศีรษะ มองต่ำลงมาทางทิศตะวันตกจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ที่มุมเงยประมาณ 50°-60°
หลังสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 5 ทุ่มเศษ แม้ว่าดวงจันทร์จะเต็มดวง ไม่มีส่วนแหว่งเว้าแล้ว แต่ดวงจันทร์จะยังไม่สว่างเต็มที่ พื้นผิวของดวงจันทร์จะหมองคล้ำอยู่เล็กน้อยต่อไปอีกราวครึ่งชั่วโมง เพราะยังอยู่ในเงามัวของโลก หลังจากนั้นเราจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์อีก จันทรุปราคาครั้งนี้จะสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์เมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามัวในเวลา 00:30 น.
เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และแผนที่แสดงการเห็นจันทรุปราคาในส่วนต่าง ๆ ของโลก
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554 | ||
---|---|---|
เหตุการณ์ | เวลา | มุมเงย ของดวงจันทร์ (ที่กรุงเทพฯ) |
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง) | 18:34 น. | 11° |
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์เริ่มแหว่ง) | 19:46 น. | 27° |
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง) | 21:06 น. | 45° |
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด) | 21:32 น. | 51° |
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด) | 21:57 น. | 56° |
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามืด) | 23:18 น. | 74° |
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก | 00:30 น. | 81° |
ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
ช่วงที่เกิดจันทรุปราคาในคืนวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาววัว บริเวณรอบ ๆ มีดาวฤกษ์สว่างอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากสามเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter triangle) ซึ่งประกอบด้วยดาวซิริอัสในกลุ่มดาวหมาใหญ่ ดาวโพรซิออนในกลุ่มดาวหมาเล็ก และดาวเบเทลจุสในกลุ่มดาวนายพราน ยังมีดาว 6 ดวง เรียงกันเป็นหกเหลี่ยมที่เรียกว่าหกเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter Hexagon) ได้แก่ ดาวซิริอัสในกลุ่มดาวหมาใหญ่ ดาวโพรซิออนในกลุ่มดาวหมาเล็ก ดาวพอลลักซ์ในกลุ่มดาวคนคู่ ดาวคาเพลลาในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ดาวอัลเดบารันในกลุ่มดาววัว และดาวไรเจลในกลุ่มดาวนายพราน (วนตามเข็มนาฬิกา) ดวงจันทร์อยู่ในหกเหลี่ยมนี้ โดยค่อนไปทางดาวอัลเดบารัน สูงขึ้นไปจะเห็นกระจุกดาวลูกไก่อยู่ห่างดวงจันทร์เกือบ 20°สีและความสว่างของดวงจันทร์
สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลกตรงบริเวณรอยต่อระหว่างด้านกลางวันกับด้านกลางคืนของโลกเราสามารถบอกความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้ด้วยมาตราดังชง (Danjon scale) โดยทำการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า มาตรานี้ตั้งชื่อตาม อองเดร ดังชง (André-Louis Danjon) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่ม เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 ดังตาราง โดยสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้
L | ความสว่างและสีของดวงจันทร์ |
---|---|
0 | ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น |
1 | ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก |
2 | ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง |
3 | ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง |
4 | ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามืดมีสีฟ้าและสว่างมาก |
ถ้าจะให้ได้ข้อมูลละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง ทั้งนี้การประมาณค่าแอลมีโอกาสผิดพลาดได้ หากขณะนั้นมีเมฆหรือหมอกควันบดบังดวงจันทร์ ซึ่งจะทำให้ดวงจันทร์ดูมืดสลัวกว่าความเป็นจริง
จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 อาจมีลักษณะคล้ายจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 (ในภาพ) เนื่องจากมีเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาอยู่ในรูปแบบใกล้เคียงกัน (ภาพ – ประพีร์ วิราพร/กฤษดา โชคสินอนันต์/ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช/พรชัย อมรศรีจิรทร) |
จันทรุปราคาครั้งถัดไป
จันทรุปราคาครั้งถัดไปสำหรับประเทศไทยเป็นจันทรุปราคาบางส่วน 2 ครั้ง (ไม่นับจันทรุปราคาเงามัวซึ่งสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยาก) ได้แก่ คืนวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 และเช้ามืดวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556เราไม่ควรพลาดจันทรุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เพราะทั่วโลกจะไม่มีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงอีกเลยจนกระทั่ง พ.ศ. 2557 ปีนั้นและปีถัดไปจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงรวม 4 ครั้งติดต่อกัน เห็นได้ในประเทศไทย 2 ครั้ง ได้แก่ วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 (ตรงกับวันออกพรรษา) แต่ช่วงบังหมดดวงอาจสังเกตได้ยากเนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า และท้องฟ้ายังไม่มืด อีกครั้งในค่ำวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)