วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
(อังกฤษ: European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) โดยแนวคิดของ อองรี เดอโลเนย์ เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้ ในการแข่งขัน 5 ครั้งแรก มีทีมชาติร่วมแข่งขันเพียง 4 ประเทศ ต่อมาในการแข่งขันครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) รอบสุดท้ายมีทีมชาติเข้าแข่งเพิ่มเป็น 8 ประเทศ จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศในรอบสุดท้าย และในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ประเทศ ทั้งนี้ การแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในการแข่งขันครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) สำหรับฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์ และประเทศยูเครน
ตามไปดูตัวอย่างข้อสอบ ?โอเน็ต? ที่เด็ก "มึน" ผู้ปกครอง "งง" !!
ข้อสอบ "โอเน็ต" ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา สร้างความฉงนสงสัยให้กับเด็กระดับ ม.6 ที่เข้าสอบ หรือแม้กระทั่งผู้คนทั่วไปที่ได้รับรู้อยู่ไม่น้อย กระทั่งมีการตั้งกระทู้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต ให้รุ่นพี่ รุ่นน้องมาช่วยกันหาคำตอบ ช่วยกันวิเคราะห์ว่าคำตอบใดกันแน่ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ทีมข่าว "มติชน" ลองสอบถามไปยังนักวิชาการด้านการศึกษา ให้แสดงทรรศนะถึงข้อสอบที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์อยู่ขณะนี้
"รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ข้อสอบปีสองปีที่ผ่านมา ลักษณะของข้อสอบยังคงยากอยู่ แต่วิธีการตอบหรือเทคนิคง่ายขึ้น เมื่อก่อนจะยากทั้งตัวเนื้อหาและเทคนิค แต่ปีนี้อยู่ที่ตัวเนื้อหาอย่างเดียว เรื่องเทคนิคก็จะเป็น 5 ตัวเลือก แล้วก็ลักษณะของข้อสอบการโยงเรื่องการวิเคราะห์อะไรไม่ยากเหมือนเมื่อก่อน นี่เป็นประเด็นที่หนึ่งที่เห็น
ต่อมาคือลักษณะของการออกข้อสอบ ค่อนข้างเห็นความแตกต่างระหว่างเด็กในเมืองและเด็กในชนบท ถ้าเด็กในเมืองโอกาสการติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการเข้าถึงจะดีกว่าเด็กในต่างจังหวัด หากสังเกตดูจะพบว่า ข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ เรื่องของระบบข้อมูลข่าวสารต่างๆ กลุ่มผู้ออกข้อสอบส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยกับอาจารย์โรงเรียนสาธิตต่างๆ มีบางส่วนที่มาจาก สพฐ. ฉะนั้นข้อสอบจึงมีลักษณะค่อนข้างไม่ยุติธรรมในเชิงของภูมิภาค
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีความเห็นอย่างไรกับข้อสอบที่ถามว่า "ถ้าจะปลูกฝังความเป็นไทยต้องให้ดูละครเรื่องอะไร"
รศ.ดร.สมพงษ์กล่าวว่า การออกข้อสอบในลักษณะนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง
เพราะเราบอกว่าไม่ส่งเสริมให้เด็กดูละคร แต่หากไม่ดูเด็กก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ข้อสอบข้อนี้ได้ ซึ่งข้อสอบในลักษณะนี้เป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์
เวลาที่เด็กคิดหาคำตอบจะมีความแตกต่างกันเรื่องของฐานข้อมูลกับเรื่องราวที่ใช้ในการตัดสินใจตอบ ข้อสอบแบบนี้จะวัดได้ยาก เพราะเด็กจะต้องดูละครทั้ง 5 เรื่อง จึงจะนำความรู้ในนั้นมาตอบข้อสอบ ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรที่เด็กทุกคนจะดูครบทุกเรื่อง
ด้านผู้ปกครอง "มติชน" นำข้อสอบที่เพิ่งมีการสอบในปีนี้ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้นมาให้ลองตอบ พร้อมทั้งขอเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกคำตอบนี้
"วิเชษฐ ดีประดิษฐ" ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนหอวัง ได้รับคำถามว่า "ถ้าจะปลูกฝังความเป็นไทยต้องให้ดูละครเรื่องอะไร?" โดยมีตัวเลือกคือ 1.ขุนศึก 2.สี่แผ่นดิน 3.ดอกส้มสีทอง 4.แรงเงา และ 5.กี่เพ้า
ผู้ปกครองคนนี้เลือกตอบข้อ 2.สี่แผ่นดิน โดยให้เหตุผลว่า เรื่องราวของสี่แผ่นดินเป็นการถ่ายทอด การนำเสนอภาพของประเทศในแต่ละยุคสมัย โดยสอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมประเพณีเข้าไปตลอดทั้งเรื่อง ทำให้คนดูซึมซับว่าประเพณีไทยเป็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งข้ออื่นๆ อย่างขุนศึก เป็นเนื้อหาละครที่เน้นเรื่องความรักชาติ ซึ่งถือว่ามีแง่มุมของความเป็นไทยน้อยกว่า ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆ ที่เหลือขอตัดออกไปเลย
หลังจากลองทำข้อสอบ "วิเชษฐ" ให้ความคิดเห็นว่า ความคิดการวิเคราะห์ของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ถ้ามีเจตนาให้เด็กคิดก็ควรจะมีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ
"การที่ให้ผู้ใหญ่มาออกข้อสอบก็เลยเป็นความคิดของผู้ใหญ่ซะมาก ลักษณะการทำข้อสอบเชิงวิเคราะห์แบบนี้ ผมอยากจะให้ได้คะแนนให้ทุกข้อที่ตอบถูก เพราะถูกหลายข้อแล้วแต่คนวิเคราะห์คืออาจจะถูกมากกว่า 1 ในเมื่อเราต้องการให้เด็กวิเคราะห์แสดงทรรศนะ ฉะนั้นคำตอบไม่น่าจะมีข้อที่ถูกเพียงแค่ 1 เราต้องฟังทรรศนะเขาด้วย" วิเชษฐกล่าว
อีกคนหนึ่ง สวนกลับในทันทีหลังจากเห็นโจทย์
"ข้อสอบข้อนี้ออกมาได้ไง ตอบไม่ได้หรอกแล้วจะรู้ได้อย่างไร ใครวิจารณ์อะไร" "อรุณ บ่างตระกูลนนท์" นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสตรีวิทยา 2 กล่าว หลังจากได้ฟังข้อสอบวิชาศิลปะ ที่ถามว่า "ใครคือผู้วิจารณ์อย่างสุนทรีย์?"
และก็เลี่ยงที่จะตอบข้อนี้
ก่อนที่จะได้รับอีกหนึ่งคำถามจากวิชาสุขศึกษา ว่า "สถานการณ์ใดเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยมากที่สุด?" มีตัวเลือกคือ 1.ฉลองวันเกิดที่ผับชื่อดัง 2.ขับรถกลับบ้านขณะมึนเมา 3.คบเพื่อนที่ชอบซิ่งรถจักรยานยนต์ 4.พนักงานมักพูดคุยขณะเติมน้ำมันให้ลูกค้า 5.คาดเข็มขัดนิรภัยทันที เมื่อเห็นตำรวจจราจร
อรุณ ตอบว่า ก่อนอื่นขอตัดคำตอบข้อที่ 3 ออกก่อนเพราะเราอาจจะแค่คบเพื่อนแต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำตามเพื่อน ขณะที่ข้อที่ 1.ฉลองวันเกิดที่ผับชื่อดัง ก็ไม่จำเป็นต้องอันตราย ตัวเลือกที่ 4 พนักงานมักพูดคุยขณะเติมน้ำมันให้ลูกค้า ก็ไม่ใช่ยิ่งข้อ 5 ตัดไปได้เลย ฉะนั้นขอตอบข้อ 2 ที่บอกว่า ขับรถกลับบ้านขณะมึนเมา เพราะมีความอันตรายแบบชัดเจนเลย
ผู้ปกครองรายนี้มีข้อเสนอแนะถึงผู้ออกข้อสอบว่า ควรจะมีคณะกรรมการที่เข้ามาศึกษาเรื่องการออกข้อสอบ รวมทั้งปรึกษากันเพื่อออกข้อสอบให้มีความชัดเจนและเหมาะสม อีกทั้งคนที่ออกข้อสอบควรเป็นคนที่สอนหนังสือและคลุกคลีกับนักเรียนอยู่ในปัจจุบัน
ในขณะที่ "อุทุมพร จามรมาน" อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มองว่า ตามหลักการออกข้อสอบจะต้องยึดตามหลักสูตรการเรียนรู้ และจะต้องออกให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักการออกข้อสอบแบบวัดความคิดเห็น จะไม่มีการให้คะแนนแบบถูกผิด แต่จะต้องมีการเฉลี่ยคะแนนแต่ละข้อ ซึ่งจะมีข้อหนึ่งที่ได้คะแนนมากที่สุด ส่วนข้อสอบแบบวัดความรู้ และการคิดวิเคราะห์ จะมีคำตอบถูก ผิด ชัดเจน และสามารถอธิบายตามหลักวิชาการได้
"กาญจนา นาคสกุล" ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ระบุว่า ปัจจุบันการออกข้อสอบอาจจะยังไม่มีความชัดเจนในบางส่วน
รวมถึงการออกข้อสอบเน้นความรู้เฉพาะเจาะจงมากเกินไป จนเด็กไม่สามารถตอบคำถามได้ อย่างเช่น ข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ หรือว่าความรู้ที่รู้เฉพาะคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น แต่เด็กต่างจังหวัดไม่สามารถตอบได้
ปัจจุบันการออกข้อสอบยังมีหลายข้อใช้ภาษาและคำถามไม่ชัดเจน จึงทำให้นักเรียนหลายคนเกิดความรู้สึกว่าคำตอบถูกทุกข้อ
การออกข้อสอบควรเน้นความเป็นธรรมกับนักเรียนทุกคน ต้องเป็นความรู้ได้จากตำราเรียน และความรู้ที่เด็กจะได้จากการเรียนแต่ละวิชา แต่ถ้าเป็นความรู้ทั่วไป ก็ต้องเป็นความรู้ที่นักเรียนทั้งประเทศที่รู้ และสามารถตอบได้
แต่ในปัจจุบันการออกข้อสอบเน้นถามเรื่องที่ครูรู้ แต่เด็กไม่รู้ และครูออกข้อสอบซับซ้อนมากเกินไปจนเด็กตอบไม่ได้
และนี่คืออีกเสียงสะท้อนต่อการสอบโอเน็ตของเด็กไทย
"รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ข้อสอบปีสองปีที่ผ่านมา ลักษณะของข้อสอบยังคงยากอยู่ แต่วิธีการตอบหรือเทคนิคง่ายขึ้น เมื่อก่อนจะยากทั้งตัวเนื้อหาและเทคนิค แต่ปีนี้อยู่ที่ตัวเนื้อหาอย่างเดียว เรื่องเทคนิคก็จะเป็น 5 ตัวเลือก แล้วก็ลักษณะของข้อสอบการโยงเรื่องการวิเคราะห์อะไรไม่ยากเหมือนเมื่อก่อน นี่เป็นประเด็นที่หนึ่งที่เห็น
ต่อมาคือลักษณะของการออกข้อสอบ ค่อนข้างเห็นความแตกต่างระหว่างเด็กในเมืองและเด็กในชนบท ถ้าเด็กในเมืองโอกาสการติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการเข้าถึงจะดีกว่าเด็กในต่างจังหวัด หากสังเกตดูจะพบว่า ข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ เรื่องของระบบข้อมูลข่าวสารต่างๆ กลุ่มผู้ออกข้อสอบส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยกับอาจารย์โรงเรียนสาธิตต่างๆ มีบางส่วนที่มาจาก สพฐ. ฉะนั้นข้อสอบจึงมีลักษณะค่อนข้างไม่ยุติธรรมในเชิงของภูมิภาค
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีความเห็นอย่างไรกับข้อสอบที่ถามว่า "ถ้าจะปลูกฝังความเป็นไทยต้องให้ดูละครเรื่องอะไร"
รศ.ดร.สมพงษ์กล่าวว่า การออกข้อสอบในลักษณะนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง
เพราะเราบอกว่าไม่ส่งเสริมให้เด็กดูละคร แต่หากไม่ดูเด็กก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ข้อสอบข้อนี้ได้ ซึ่งข้อสอบในลักษณะนี้เป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์
เวลาที่เด็กคิดหาคำตอบจะมีความแตกต่างกันเรื่องของฐานข้อมูลกับเรื่องราวที่ใช้ในการตัดสินใจตอบ ข้อสอบแบบนี้จะวัดได้ยาก เพราะเด็กจะต้องดูละครทั้ง 5 เรื่อง จึงจะนำความรู้ในนั้นมาตอบข้อสอบ ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรที่เด็กทุกคนจะดูครบทุกเรื่อง
ด้านผู้ปกครอง "มติชน" นำข้อสอบที่เพิ่งมีการสอบในปีนี้ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้นมาให้ลองตอบ พร้อมทั้งขอเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกคำตอบนี้
"วิเชษฐ ดีประดิษฐ" ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนหอวัง ได้รับคำถามว่า "ถ้าจะปลูกฝังความเป็นไทยต้องให้ดูละครเรื่องอะไร?" โดยมีตัวเลือกคือ 1.ขุนศึก 2.สี่แผ่นดิน 3.ดอกส้มสีทอง 4.แรงเงา และ 5.กี่เพ้า
ผู้ปกครองคนนี้เลือกตอบข้อ 2.สี่แผ่นดิน โดยให้เหตุผลว่า เรื่องราวของสี่แผ่นดินเป็นการถ่ายทอด การนำเสนอภาพของประเทศในแต่ละยุคสมัย โดยสอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมประเพณีเข้าไปตลอดทั้งเรื่อง ทำให้คนดูซึมซับว่าประเพณีไทยเป็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งข้ออื่นๆ อย่างขุนศึก เป็นเนื้อหาละครที่เน้นเรื่องความรักชาติ ซึ่งถือว่ามีแง่มุมของความเป็นไทยน้อยกว่า ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆ ที่เหลือขอตัดออกไปเลย
หลังจากลองทำข้อสอบ "วิเชษฐ" ให้ความคิดเห็นว่า ความคิดการวิเคราะห์ของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ถ้ามีเจตนาให้เด็กคิดก็ควรจะมีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ
"การที่ให้ผู้ใหญ่มาออกข้อสอบก็เลยเป็นความคิดของผู้ใหญ่ซะมาก ลักษณะการทำข้อสอบเชิงวิเคราะห์แบบนี้ ผมอยากจะให้ได้คะแนนให้ทุกข้อที่ตอบถูก เพราะถูกหลายข้อแล้วแต่คนวิเคราะห์คืออาจจะถูกมากกว่า 1 ในเมื่อเราต้องการให้เด็กวิเคราะห์แสดงทรรศนะ ฉะนั้นคำตอบไม่น่าจะมีข้อที่ถูกเพียงแค่ 1 เราต้องฟังทรรศนะเขาด้วย" วิเชษฐกล่าว
อีกคนหนึ่ง สวนกลับในทันทีหลังจากเห็นโจทย์
"ข้อสอบข้อนี้ออกมาได้ไง ตอบไม่ได้หรอกแล้วจะรู้ได้อย่างไร ใครวิจารณ์อะไร" "อรุณ บ่างตระกูลนนท์" นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสตรีวิทยา 2 กล่าว หลังจากได้ฟังข้อสอบวิชาศิลปะ ที่ถามว่า "ใครคือผู้วิจารณ์อย่างสุนทรีย์?"
และก็เลี่ยงที่จะตอบข้อนี้
ก่อนที่จะได้รับอีกหนึ่งคำถามจากวิชาสุขศึกษา ว่า "สถานการณ์ใดเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยมากที่สุด?" มีตัวเลือกคือ 1.ฉลองวันเกิดที่ผับชื่อดัง 2.ขับรถกลับบ้านขณะมึนเมา 3.คบเพื่อนที่ชอบซิ่งรถจักรยานยนต์ 4.พนักงานมักพูดคุยขณะเติมน้ำมันให้ลูกค้า 5.คาดเข็มขัดนิรภัยทันที เมื่อเห็นตำรวจจราจร
อรุณ ตอบว่า ก่อนอื่นขอตัดคำตอบข้อที่ 3 ออกก่อนเพราะเราอาจจะแค่คบเพื่อนแต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำตามเพื่อน ขณะที่ข้อที่ 1.ฉลองวันเกิดที่ผับชื่อดัง ก็ไม่จำเป็นต้องอันตราย ตัวเลือกที่ 4 พนักงานมักพูดคุยขณะเติมน้ำมันให้ลูกค้า ก็ไม่ใช่ยิ่งข้อ 5 ตัดไปได้เลย ฉะนั้นขอตอบข้อ 2 ที่บอกว่า ขับรถกลับบ้านขณะมึนเมา เพราะมีความอันตรายแบบชัดเจนเลย
ผู้ปกครองรายนี้มีข้อเสนอแนะถึงผู้ออกข้อสอบว่า ควรจะมีคณะกรรมการที่เข้ามาศึกษาเรื่องการออกข้อสอบ รวมทั้งปรึกษากันเพื่อออกข้อสอบให้มีความชัดเจนและเหมาะสม อีกทั้งคนที่ออกข้อสอบควรเป็นคนที่สอนหนังสือและคลุกคลีกับนักเรียนอยู่ในปัจจุบัน
ในขณะที่ "อุทุมพร จามรมาน" อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มองว่า ตามหลักการออกข้อสอบจะต้องยึดตามหลักสูตรการเรียนรู้ และจะต้องออกให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักการออกข้อสอบแบบวัดความคิดเห็น จะไม่มีการให้คะแนนแบบถูกผิด แต่จะต้องมีการเฉลี่ยคะแนนแต่ละข้อ ซึ่งจะมีข้อหนึ่งที่ได้คะแนนมากที่สุด ส่วนข้อสอบแบบวัดความรู้ และการคิดวิเคราะห์ จะมีคำตอบถูก ผิด ชัดเจน และสามารถอธิบายตามหลักวิชาการได้
"กาญจนา นาคสกุล" ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ระบุว่า ปัจจุบันการออกข้อสอบอาจจะยังไม่มีความชัดเจนในบางส่วน
รวมถึงการออกข้อสอบเน้นความรู้เฉพาะเจาะจงมากเกินไป จนเด็กไม่สามารถตอบคำถามได้ อย่างเช่น ข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ หรือว่าความรู้ที่รู้เฉพาะคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น แต่เด็กต่างจังหวัดไม่สามารถตอบได้
ปัจจุบันการออกข้อสอบยังมีหลายข้อใช้ภาษาและคำถามไม่ชัดเจน จึงทำให้นักเรียนหลายคนเกิดความรู้สึกว่าคำตอบถูกทุกข้อ
การออกข้อสอบควรเน้นความเป็นธรรมกับนักเรียนทุกคน ต้องเป็นความรู้ได้จากตำราเรียน และความรู้ที่เด็กจะได้จากการเรียนแต่ละวิชา แต่ถ้าเป็นความรู้ทั่วไป ก็ต้องเป็นความรู้ที่นักเรียนทั้งประเทศที่รู้ และสามารถตอบได้
แต่ในปัจจุบันการออกข้อสอบเน้นถามเรื่องที่ครูรู้ แต่เด็กไม่รู้ และครูออกข้อสอบซับซ้อนมากเกินไปจนเด็กตอบไม่ได้
และนี่คืออีกเสียงสะท้อนต่อการสอบโอเน็ตของเด็กไทย
หน้า 9 มติชนรายวันฉบับวันที่ 16 ก.พ. 2556
Harlem Shake คืออะไร ?
- เทรนด์การเต้นหมู่ Harlem Shake (ฮาร์เล็ม เชค) เป็นการเต้นประกอบเพลงรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมาก
- ฮาร์เล็ม เชค ( Harlem Shake ) รูปแบบการเต้น ฮาร์เล็ม เชค นี้ เป็นการหยิบเอางานเพลงชื่อเดียวกัน Harlem Shake ของบาเออร์ ศิลปินฮิปฮอป มาใช้ประมาณ 30 วินาที
- โดยในช่วงเริ่มต้นของการเต้น Harlem Shake นั้นจะเป็นการเต้นเพียงคนเดียว ท่ามกลางในหมู่ของเพื่อนๆ หรือคนรอบข้างที่ทำเป็นไม่สนใจ แต่พอถึงช่วงที่จังหว่ะเพลงเปลี่ยน ผู้คนรอบข้างเหล่านั้นก็จะลุกออกมาเต้นในท่วงทีที่บ้าคลังหรือจะเรียกว่าหลุดโลกเลยก็ว่าได้ ไม่เน้นสวยงามแต่เน้นความฮาจ้า!!
ที่มาฮาร์เล็ม เชค (Harlem Shake)
- การเต้นฮาร์เล็ม เชค มีที่มาจาก การแสดงของชนกลุ่มหนึ่งในแถบทวีปแฟริกาเหนือ คือ ชนเผ่าเอสกิสตา (Eskista)
- โดยท่าเต้นดังกล่าวมีเอกลักษณ์คือการโยกไหล่ไปมา
- จากนั้นนักเต้นวณิพกจากนิวยอร์ก สหรัฐฯ คนหนึ่งก็ได้นำท่าเต้นดังกล่าวไปประยุกต์เข้ากับลักษณะการเคลื่อนไหวของมัมมี่ ที่จะทำได้เพียงแค่การกระตุกไหล่ไปมา ทำให้ท่าเต้นดังกล่าวได้กลายมาเป็นที่นิยม จนได้รับการเผยแพร่ไปจนถึงย่านฮาร์เล็ม ของนิวยอร์ก ช่วงปี ค.ศ. 1981 จนกลายมาเป็นที่มาของชื่อ ฮาร์เล็ม เชค ในที่สุด
กระแสฮาร์เล็ม เชค (Harlem Shake) มาจากไหน?
- เริ่มต้นมาจาก คลิปวิดีโอของกลุ่มวัยรุ่น ที่ใช้ชื่อว่า The Sunny Coast Skate ซึ่งได้อัดคลิปวิดีโอการเต้นแบบสุดเหวี่ยงด้วยลีลา ฮาร์เล็ม เชค มาเผยแพร่บนเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก่อนที่คลิปดังกล่าวก็จะถูกชมรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ นำไปเลียนแบบต่ออย่างแพร่หลาย จนกลายมาเป็น เทรนด์ใหม่ของชาวสังคมออนไลน์ ในขณะนี้
ท่าเต้นฮาร์เล็ม เชค (Harlem Shake)
- สำหรับท่าเต้น ฮาร์เล็ม เชค นี้ ก็ได้เริ่มก้าวเข้ามาสู่วงการเพลงกระแสหลัก เมื่อท่าเต้นดังกล่าวถูกนำมาใช้ในมิวสิควิดีโอเพลง Let’s Get It ของ จีเดป (G.Dep) และ พีดิ๊ดดี้ (P Diddy) ในปี ค.ศ. 2001
- โดยต่อมาท่าเต้นนี้ถูกนำไปใช้ในเอ็มวี ของศิลปินฮิปฮอปอีกมากมาย ทั้งเพลง Take You Home ของลิล โบว วาว (Lil’ Bow Wow) และเพลง Who’s That Girl ของ อีฟ (Eve
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
GAT - PAT คือ??
ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test)
คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ
1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 %
2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %
คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ
1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 %
2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT :Professional and Academic Aptitude Test)
คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ
1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ
1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
การสอบ GAT และ PAT
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง (Admissions) ปีการศึกษา 2553 ประกอบด้วย
1. GPAX 20%
2. O-NET 30%
3. GAT 10-50%
4. PAT 0-40%
รวม 100 %
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง (Admissions) ปีการศึกษา 2553 ประกอบด้วย
1. GPAX 20%
2. O-NET 30%
3. GAT 10-50%
4. PAT 0-40%
รวม 100 %
• GAT คือ ความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) ประกอบด้วย
1) ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา คะแนนเต็ม 150 คะแนน
2) ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 คะแนน
**สอบ 3 ชั่วโมง ด้วยข้อสอบปรนัย และอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย**
• PAT คือ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (Professional and Academic Aptitude Test)
ประกอบด้วย
1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
**สอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบปรนัยและอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย**
การสมัครสอบ online
วิธีการสมัคร online
1) เข้าเว็บไซต์ สทศ. http://www.niets.or.th/
2) Click ที่ Menu “เข้าระบบ GAT / PAT” หรือเข้าตรงได้ที่ http://www.gatpat.niets.or.th/
3) Click เลือก Menu “สมัครสอบ”
จะมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 : อ่านเงื่อนไขให้เข้าใจ เมื่ออ่านเข้าใจแล้ว กดปุ่ม “ยอมรับเงื่อนไข”
ขั้นตอนที่ 2 : กรอกรายละเอียดของผู้สมัครให้สมบูรณ์ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล พร้อมยืนยันความถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 4 : พิมพ์ใบชำระเงิน แล้วนำไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
(**กรุณาเก็บหลักฐานการชำระเงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสมัคร**)
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
O-NET คืออะไร??
คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. ชื่อเต็มๆ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
ซึ่งการสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ภาษาอังกฤษ
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- สุขศึกษาและพลศึกษา
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ศิลปะ
และนอกจาก O-NET จะใช้เป็นตัววัดระดับการศึกษาของเด็กไทยแล้ว ยังเป็นคะแนนที่น้องๆระดับชั้นต่างๆต้องนำไปใช้ในการสมัครเข้าเรียนระดับชั้นต่อไปด้วย ก็คือ น้องๆชั้น ป.6 และ ม.3 ต้องใช้คะแนน O-NET สมัครเข้าเรียน ม.1 และ ม. 4 โดยให้น้ำหนัก 20% (โดยจะมีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป) และสำหรับน้อง ม.6 ใช้คะแนน O-NET ในการสมัคร Admission 30%
ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงตัวข้อสอบ O-NET อยู่นิดนึงสำหรับข้อสอบของน้องๆ ป.6 และ ม.3 เป็น ข้อสอบ O-NET ฉบับสั้น จะมีการเอา 8 วิชากลุ่มสาระฯมาย่อยให้เหลือ ข้อสอบ 2 ฉบับ โดยที่ฉบับ A จะประกอบไปด้วย สังคมฯ อังกฤษ คณิตฯ และฉบับที่ B จะมีภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาพลศึกษาศิลปะ และยังมีการแบ่งอีกนะครับว่า ถ้าเป็นน้อง ป.6 จะมีชุด 61A กับ 62B และ 62A กับ 62B ซึ่งชุดข้อสอบ 61กับ62จะมีเนื้อหาเหมือนกันแต่ไม่ตรงข้อกันจะแจกสลับให้กับน้องๆเพื่อป้องกันการทุจริต ส่วนน้อง ม.3 ก็จะเป็น 91C กับ 91D และ 92C กับ 92D ส่วน O-NET ของน้อง ม.6 ยังเหมือนเดิมคร้าบ
และก็คงมีคำถามว่าแล้วถ้าเป็นเด็กอินเตอร์ เด็กซิ่ล เด็กนอกละ ต้องสอบไหม! ก็ต้องสอบเหมือนกันถ้าโรงเรียนอินเตอร์แห่งนั้นสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ สทศ.ก็จะทำการจัดสอบให้ และถ้าเป็นเด็กนอกที่ต้องการสอบ O-NET ก็ต้องทำการสอบเทียบ ม.6 ก่อน และต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการด้วย ซึ่งก็สามารถมายื่นสมัครสอบได้ในช่วงเดือน พฤศจิกายนของทุกปี
อ้อ! สำหรับการสอบ O-NET นี้น้องๆไม่ต้องเสียค่าสอบอะไรเลย และจะทำการสอบกันทุกเดือนกุมภาพันธ์ และจะประกาศผลประมาณปลายเดือนมีนาคมของทุกปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)