วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

การอับปางของเรือไททานิก






วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ 22 นาฬิกา 45 นาที อุณหภูมิภายนอกเรือ ลดลงอย่างรวดเร็วจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง และน้ำทะเลรอบๆ ก็นิ่งลงจนแทบไม่มีคลื่นเลย เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ แต่ก็ไม่มีใครในเรือที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ผู้โดยสารที่อยู่บนดาดฟ้าก็กลับลงไปในเรือและใช้ชีวิตต่อตามปกติ[23]
22 นาฬิกา 50 นาที ทะเลสงบไร้ระลอก มหาสมุทรเงียบสงัด คงมีแต่เสียงหัวเรือแหวกน้ำทะเล เรือเดินสมุทรแคลิฟอร์เนียนซึ่งอยู่ไม่ไกลนักได้ส่งข่าวเตือนภัยแก่ไททานิกว่าเรือแคลิฟอร์เนียนต้องหยุดเรือไม่สามารถเดินทางต่อไปได้เพราะถูกห้อมล้อมไปด้วยน้ำแข็ง
23 นาฬิกา 40 นาที ไททานิกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง[1] ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก
ไม่กี่นาทีต่อมาวิศวกรเดินลงไปตรวจดูความเสียหาย และรายงานมาว่า เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาด้านหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว ซึ่งวิศวกรบอกว่า หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้ 4 ห้อง ไม่ใช่ 5 ห้องดังที่เป็น ดังนั้น น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำก็จะล้นกำแพงกั้นน้ำเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ดังนั้น เรือกำลังจะจม โดยหัวเรือจะจมลงไปก่อน โดยเรือเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง[3][25]
0 นาฬิกา 0 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 น้ำเริ่มท่วมส่วนที่เป็นห้องพักของผู้โดยสารชั้นสาม ทำให้เริ่มเกิดข่าวลือกันในเรือว่าเรือกำลังจะจม แต่ผู้โดยสารส่วนมากที่ได้ข่าวมักยังไม่เชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เรือไททานิกถูกโปรโมตอย่างดิบดีว่าไม่มีวันจม
0 นาฬิกา 5 นาที กัปตันสั่งให้เตรียมเรือสำรองไว้ เตรียมอพยพผู้คนโดยด่วน , ไปบอกเจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป และบอกพนักงานให้ไปปลุกผู้โดยสาร ให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ และทำร่างกายให้อุ่นๆ และไปที่ดาดฟ้า ทำให้ข่าวลือเรื่องเรือกำลังจะจมแพร่ไปทั่วเรือ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อ ส่วนใหญ่ยังนั่งกินเลี้ยง เล่นไพ่ ดื่มไวน์อย่างใจเย็น และเมื่อขึ้นไปที่ดาดฟ้า เจออากาศหนาวๆ ภายนอก ก็กลับเข้าไปข้างในอีก ในช่วงเวลานี้ ผู้โดยสารดูไม่ตื่นตัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะพบนั้นเลวร้ายเพียงใด[3]
ต่อมาราว 5-15 นาที เรือ อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ โดยบอกว่าเร่งเครื่องเต็มที่แล้ว และคาร์พาเธียจะไปถึงเรือไททานิกภายใน 4 ชั่วโมง แต่นั่นนานเกินไป วิศวกรบอกว่าเรือลอยอยู่ไม่ถึง 4 ชั่วโมงแน่ ดังนั้น ไททานิก จึงต้องพึ่งตนเอง[26]
0 นาฬิกา 25 นาที เรือสำรองทุกลำพร้อมอพยพผู้โดยสาร กัปตันสั่งให้เริ่มอพยพโดยให้สตรีและเด็กลงเรือไปก่อน แต่ลูกเรือไม่รู้ว่าเรือสำรองจุผู้คนได้เท่าไร จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มที่ ทำให้แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตได้ 1,178 คนตามที่มันถูกออกแบบ มันกลับรับผู้โดยสารมาเพียง 712 คนเท่านั้น[3]
0 นาฬิกา 45 นาที เรือสำรองลำแรกถูกปล่อยลงมา และเมื่อผู้โดยสารได้รับข่าวการปล่อยเรือชูชีพ และเห็นเจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ก็เริ่มเชื่อข่าวที่ลือกันในเรือว่า เรือกำลังจะจม[27]
0 นาฬิกา 50 นาที พลุขอความช่วยเหลือเริ่มถูกยิงขึ้นฟ้า[3]
1 นาฬิกาตรง ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่เชื่อแล้ว ว่าเรือที่พวกเขาอยู่นั้นกำลังจะจม ความวุ่นวายและตื่นตระหนกเริ่มเกิดขึ้น ลูกเรือที่ทำหน้าที่ปล่อยเรือสำรองเริ่มเจอแรงกดดันจากการที่ผู้โดยสารแย่งกันเป็นคนถัดไปที่จะได้ขึ้นเรือสำรอง เกิดเป็นความวุ่นวายเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารชายหลายท่าน แสดงความเป็นสุภาพบุรุษ โดยให้ภรรยาและลูกขึ้นเรือ แล้วตนเองถอยไป[28]
1 นาฬิกา 15 นาที น้ำท่วมขึ้นมิดหัวเรือ และข่าวการที่น้ำท่วมมาจนมิดหัวเรือ ทำให้ผู้โดยสารเริ่มตื่นตระหนก เพราะเคยเห็นว่าหัวเรือนั้นสูงเพียงใด ดังนั้นผู้โดยสารและลูกเรือจึงตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อรู้ข่าว เพราะคิดว่า เรือจมเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ใช่สุภาพบุรุษแย่งกันขึ้นเรือ ทำให้ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้น[3]
1 นาฬิกา 25 นาที ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้นมาก เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ปืนในการควบคุม เรือบดถูกเจ้าหน้าที่ปล่อยลงอย่างรีบร้อน เพราะความวุ่นวายจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการใส่คนลงไปในเรือ และในการปล่อยเรือสำรองลงไป ในขณะที่เรือเองก็จมลงเรื่อยๆ เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริตอย่างน่าชื่นชม พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต
1 นาฬิกา 45 นาที น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณระเบียงด้านหัวเรือ ในขณะนี้ ชั้น A ด้านหัวเรือ เหลือความสูงจากผิวน้ำ 3 เมตร
1 นาฬิกา 55 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปหมด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเรือสำรองแบบพับได้ และเริ่มลำเลียงผู้คนออกจากเรือต่อ[3]
2 นาฬิกาตรง น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมดาดฟ้าเรือบริเวณส่วนหัว ท่วมห้องบังคับการเรือ และเริ่มเข้าท่วมลึกเข้าไป[3]
2 นาฬิกา 5 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปจนหมด แต่ยังเหลือคนมากกว่า 1,500 คนบนเรือ และท้ายเรือเริ่มยกตัวขึ้น เห็นใบจักรขับเคลื่อนลอยขึ้นมาอย่างชัดเจน และยกขึ้นเรื่อยๆ และทางด้านหัวเรือ น้ำก็เข้าท่วมสูงมิดห้องบังคับการเรือ ท้ายเรือยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เรือเอียงอย่างน่ากลัว ผู้โดยสารหวาดกลัว บางคนถึงกับโดดลงมาจากเรือเพื่อหวังจะว่ายไปขึ้นเรือชูชีพด้านล่าง แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนจะว่ายไปถึง[29]
เพราะในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ที่อยู่บนเรือสำรอง ได้นำเรือสำรองทุกลำให้ออกห่างจากตัวเรือไททานิกให้ไกลที่สุด เพราะไททานิกที่กำลังจมอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาจจะดูดเรือสำรองจม หรืออาจเกิดอันตรายอย่างอื่น ที่สามารถทำให้เรือสำรองจมได้ เหล่าเจ้าหน้าที่ พยายามนำเรือสำรองออกไปให้ไกลที่สุด ดังนั้น ผู้ที่ตัดสินใจในการโดดมาจากเรือไททานิก แล้วคิดว่ายไปขึ้นเรือสำรอง ส่วนใหญ่จึงไม่รอด
2 นาฬิกา 18 นาที ระบบไฟฟ้าบนเรือหยุดทำงาน ไม่นานต่อมา เรือก็ขาดออกเป็นสองท่อน (จุดที่ฉีกขาดอยู่ระหว่างปล่องไฟปล่องที่ 3 กับปล่องที่ 4) แต่พื้นของชั้นล่างสุดยังไม่ขาดออกจากกัน การหักครั้งนี้ ทำให้ส่วนหัวเรือจมลงอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนท้ายเรือขึ้นมา ส่งผลให้ส่วนท้ายเรือยกตั้งฉากกับพื้นน้ำ และเริ่มจมลงในแนวดิ่ง[30]
2 นาฬิกา 20 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[1] ผู้โดยสารจำนวนมากลอยคออยู่ด้วยเสื้อชูชีพ แต่น้ำทะเลในขณะนั้นเย็นจัดเกือบ 0 องศาเซลเซียส ผู้โดยสารและลูกเรือที่ขึ้นเรือสำรองไม่ทัน ถูกทิ้งให้ลอยคอบนน้ำที่เย็นยะเยือก ในขณะที่ทางเรือสำรองที่ลอยอยู่ด้านนอก ก็พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ไม่ได้ เพราะหากผลีผลามเข้าไป คนที่ลอยคออยู่ในน้ำที่เย็นเยือกจะแย่งกันขึ้นเรือสำรอง เพื่อที่จะหลุดพ้นจากน้ำอันเย็นหนาว ซึ่งนั่นจะทำให้เรือสำรอง ถูกผู้ที่ลอยคออยู่รุมจนจมลงไปด้วย ดังนั้น จึงต้องรอ ปล่อยให้ผู้ที่ลอยคอหนาวตายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือผู้รอดน้อยพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้โดยที่เรือสำรองจะไม่ถูกรุมจนจม
3 นาฬิกาตรง เสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือเงียบลง รวมเป็นเวลา 40 นาที ที่ผู้ที่ลอยคออยู่ตายไปจนเกือบหมด เจ้าหน้าที่จึงส่งเรือสำรองมาช่วย แต่ไม่ค่อยทันนัก ส่วนใหญ่ ตายหมดแล้ว เรือสำรองที่เข้าไปช่วยเหลือนั้น นำผู้โดยสารที่ยังไม่เสียชีวิตขึ้นมาได้เพียง 14 คนในสภาพหนาวสั่นทรมาน และในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิต รวมแล้วเหลือผู้ที่รอดจากการถูกนำมาจากน้ำเย็นเฉียบเพียง 11 คน[31]
4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย[1] ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก[32] ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ได้มีการสรุปยอดและรายชื่อของผู้รอดและผู้เสียชีวิต ดังนี้[33]

กลุ่มคน
จำนวนที่โดยสารมาในเที่ยวนี้จำนวนที่รอดจำนวนที่เสียชีวิต
ลูกเรือ
899
214685
ผู้โดยสารชั้น Third Class710174536
ผู้โดยสารชั้น Second Class285119166
ผู้โดยสารชั้น First Class329199130
รวมทั้งหมด2,2247101,514

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติ April Fools' Day

นานมาแล้วในสมัยของ King Charles IX (กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส)





ได้เปลี่ยนเอาวันที่ 1 ม.ค. เป็นวันปีใหม่ จากเดิมที่ใช้วันที่ 1 เม.ย. เป็นวันปีใหม่ของ

ทุกปี ซึ่งในวันที่ 1 เม.ย. นี้ ผู้คนจะทำการเฉลิมฉลองและส่งการ์ดอวยพร และการ์ด

เชิญมาร่วมงานสังสรรค์ในวันดังกล่าว

ทว่า ในปีที่วันปีใหม่ถูกเปลี่ยนให้เป็นวันที่ 1 ม.ค. ตามระบบนับวันของ Charles

IX แต่ด้วยติดต่อสื่อสารในสมัยนั้นเป็นไปได้ช้ามาก ทำให้หลายคนไม่ได้รับข่าวเรื่อง

การเปลี่ยนวัน จึงทำให้หลายๆแห่งยังคงฉลองปีใหม่กันในวันที่ 1 เม.ย. และเนื่องจาก

คนที่เข้าใจเรื่องวันที่ผิด ได้ส่งการ์ดอวยพรหรือการ์ดเชิญร่วมปาร์ตี้ไปด้วย จึงกลายเป็น

ว่า เป็นการชวนไปปาร์ตี้ในเทศกาลที่ไม่มีจริง และทำให้คนที่ฉลองวันปีใหม่ในวันที่

1 เมษายน ถูกเรียกว่า "Fool" ทำให้ April Fool's Day กลายเป็นวันแห่ง

การโกหก