วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มารู้จักจังหวัดที่ 77 ของประเทศของประเทศไทยกัน


“บึงกาฬ” ขึ้นแท่นจังหวัดที่ 77 ของไทย

Share
บึงกาฬ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งน้ำตก ภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การคมนาคมที่แสนสะดวกสบาย นับได้ว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่เมืองหนึ่งเลยก็ว่าได้

แต่เดิมนั้น อำเภอบึงกาฬ มีชื่อว่า ไชยบุรี ซึ่งขึ้นกับจังหวัดนครพนม มาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482
ปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง “อำเภอบึงกาฬ” ขึ้นเป็น “จังหวัดบึงกาฬ” ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
การจัดตั้ง “จังหวัดบึงกาฬ” เป็นโครงการที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาในขณะนั้น และได้มีการนำสู่กระบวนการพิจารณาอีกครั้ง โดยผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยในวันที่  22  มีนาคม  2554 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่  พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.  2554
สภาได้มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้ง “จังหวัดบึงกาฬ” ไปเรียบร้อยแล้ว พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป  หรือวันที่ 23 มีนาคม 2554  นั่นเอง 
การร้องขอจัดตั้งถูกขอตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย
จังหวัดบึงกาฬ ที่เสนอให้จัดตั้งมีพื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. จากการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคาย ปรากฏว่าประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 98.83 หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ จะมีประชากรประมาณ 390,000 คน ประกอบด้วย 8 อำเภอ มีอักษรย่อ บก.
ปัจจุบันบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกถ้ำฝุ่น, น้ำตกชะแนน, น้ำตกถ้ำพระ, เป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ งานแห่เทียนเข้าพรรษา ช่วงเดือนกรกฎาคม, ประเพณีบุญบั้งไฟ, ประเพณีแข่งเรือยาว, งานไหลเรือไฟ หรือบั้งไฟพญานาค
คำขวัญของจังหวัด : “สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล”
 
ก่อนหน้านี้มีจังหวัดใหญ่ๆ หลายจังหวัดที่มีพื้นที่หลายอำเภอ ต่างของแยกตัว แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ หรือประชาชนไม่เห็นด้วย “ขวัญชัย วงศ์นิติกร” รักษาราชการแทนปลัดมหาดไทยย้ำว่าหลักเกณฑ์สำคัญคือประชาชนในพื้นที่ต้อง ยินยอมและต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะมีหลายจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่นจังหวัดนครราชสีมา นครศรีธรรมราช พยายามที่จะแยกเป็นจังหวัดหลายครั้ง แต่ประชาชนในพื้นที่คัดค้าน เพราะต้องการเป็นหลานย่าโม หรือมีพระธาตุเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
เมื่อครั้ง “ถวิล ไพรสณฑ์” เป็น ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ ส.ส.เขตฉวาง ทุ่งสง ได้เคยยกร่าง พรบ.จัดตั้งจังหวัดทุ่งสงไว้แล้วด้วยซ้ำ แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ ทั้งๆ ที่มีความเหมาะสม เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และศูนย์กลางคมนาคม เนื่องจากคนย่านนั้นไม่เอาด้วย ต้องการมีพระบรมธาตุเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเหมือนเดิม 
อย่าง จังหวัดฝาง ที่มีประชาชนลงชื่อเสนอจัดตั้งจังหวัดฝาง แยกออกจากจังหวัดเชียงใหม่ แต่ประชาชน อ.เชียงดาว อ.พร้าว และ อ.เวียงแหง ที่ต้องไปขึ้นอยู่กับจังหวัดฝางไม่เอาด้วย เนื่องจากยังอยากขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ เพราะอยู่ใกล้และเดินทางสะดวกกว่า การเดินทางไป อ.ฝาง นั้นยากลำบาก แม้กฎหมายจะอยู่ในขั้นตอนของสภาแล้ว แต่ยังไม่สามารถออกเป็นกฎหมายได้ เพราะประชาชนไม่ยอมนี่แหละ
 
 
แต่ “บุญเสริม จิตเจนสุวรรณ” ผอ.สำนักปกครองท้องที่ กรมการปกครอง บอกว่า ยังมีการเสนอขอจัดตั้งจังหวัดใหม่หลายจังหวัด เช่น จังหวัดไกลกังวล โดยแยก อ.ปราณบุรี อ.หัวหิน อ.สามร้อยยอด ออกจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และแยก อ.ชะอำ ออกจาก จ.เพชรบุรี แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากมีเพียง 4 อำเภอ เนื้อที่เพียงแค่ 3,136 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.36 แสนคน และประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย
ยังมีจังหวัดพระนารายณ์ เสนอขอแยก อ.โคกเจริญ อ.ชัยบาดาล อ.ท่าหลวง อ.พัฒนานิคม อ.ลำสนธิ อ.สระโบสถ์ อ.หนองม่อง และ กิ่ง อ.ม่วงค่อม รวม 8 อำเภอ ออกจาก จ.ลพบุรี แต่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือหากแยกออกไป จังหวัดลพบุรีจะมีอำเภอเหลือเพียง 4 อำเภอ ไม่เหมาะสมในการบริหารงานในรูปแบบจังหวัด และจังหวัดพระนารายณ์จะมีพื้นที่ 3,823 ตารางกิโลเมตร ส่วนจังหวัดลพบุรีจะเหลือพื้นที่เพียง 2,376 ตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ยังมีการขอจัดตั้งจังหวัดแม่สอด โดยแยก อ.แม่สอด อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด อ.พบพระ และ อ.อุ้มผาง ออกจาก จ.ตาก จะทำให้ จ.ตาก เหลือเพียง 4 อำเภอ ทำให้ จ.ตาก ไม่มีความเหมาะสม และจะทำให้ขาดศักยภาพในการบริหารจัดการในรูปแบบจังหวัดได้ จึงต้องไปจัดตั้งแม่สอดเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ที่มา : th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น