วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไมห้องผ้าตัดต้องใส่ชุดสีเขียว??

cover

ในอดีตหมอผ่าตัดไม่ได้มีแบบฟอร์มชุดสำหรับเข้าผ่าตัดเป็นจริงเป็นจังสักเท่าใด บางครั้งอาจสวมแค่ผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันเลือดเปื้อนเสื้อผ้า ทั้งยังทำการผ่าตัดด้วยมือเปล่า ไม่สวมถุงมือ อุปกรณ์การผ่าตัดก็ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ จึงไม่แปลกที่การผ่าตัดในสมัยก่อนจะดูอันตรายถึงชีวิต

จนล่วงเข้าสู่ปี ค.ศ. 1918 ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์สเปน แพร่ระบาด คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย หมอ่าตัดจึงสวมผ้าปิดปากซึ่งทำจากผ้าตาข่ายโปร่งๆ แต่ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาเดียวกัน หมอผ่าตัดก็เริ่มสวมถุงมือยาง จนล่วงเข้าสู่ทศวรรษ 1940 ก็หมอผ่าตัดก็เริ่มรู้จักการฆ่าเชื้อ จึงสวมชุดผ่าตัดซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อในการผ่าตัดทุกครั้ง แต่ในตอนนั้นชุดผ่าตัดยังเป็นสีขาว ไม่ใช่สีเขียว หรือสีฟ้า อย่างที่เห็นในปัจจุบัน



ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์สเปน



อย่างไรก็ดี ห้องผ่าตัดนั้นเป็นสีขาว ไฟในห้องก็สว่างเจิดจ้า จึงทำให้ตาพร่ามัว เสียสมาธิในการผ่าตัด ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนสีชุดผ่าตัดจากสีขาวเป็นสีเขียว หรือสีฟ้า เนื่องจากการมองเห็นสีเขียว หรือสีฟ้าช่วยให้หมอผ่าตัดมองเห็นชัดเจนขึ้น ทั้งยังทำให้รู้สึกสดชื่น เพราะได้พักสายตาจากสีแดงจากเลือดของคนไข้ในระหว่างผ่าตัด เหตุผลอีกข้อคือ สมองของมนุษย์มีการตีความสีที่เห็นใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น หากหมอผ่าตัดต้องจ้องมองสีที่ใกล้เคียงกัน เช่น สีชมพู และสีแดง ก็จะทำให้ตอบสนองช้าลง

นอกจากนี้ การจ้องมองสีแดงจากเลือดของคนไข้นานๆ แล้วละสายตาไปมองพื้นสีขาวของห้องผ่าตัด หรือชุดผ่าตัดสีขาวก็จะทำให้เห็นสีเขียวลอยเด่นขึ้นมา ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า Afterimage หรือภาพติดตา ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราจ้องสีใดสีหนึ่งเป็นเวลานาน เมื่อละสายตาก็จะปรากฏสีตรงข้ามกับสีนั้นโผล่ขึ้นมาแทนที่

อย่างไรก็ดี การสวมชุดผ่าตัดสีเขียว หรือสีฟ้า สามารถแก้ไขปรากฏการณ์ภาพติดตาได้ชะงัดนัก เนื่องจากสีฟ้านั้นมีสีเดียวกับภาพติดตาอยู่แล้ว ส่วนสีเขียวก็ไม่ทำให้เกิดภาพติดตาที่เด่นชัดจนทำลายสมาธิในการผ่าตัด ทั้งยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้าของดวงตา และไม่ทำให้เลือดที่กระเด็นมาถูกชุดผ่าตัดเห็นเป็นสีแดงชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น